NTP Redundancy
ปัจจุบันเมื่อการใช้งานเทคโนโลยีก้าวเข้าเข้าสู่ยุคดิจิตอล
การใช้งาน IT ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น IOT
(Internet of Things) เริ่มมีการใช้งานที่แพร่หลายในอุปกรณ์ต่างๆ
รอบตัวเรา การค้าขายใน e-commerce มีการขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ
การทำธุรกรรมแบบ online
ก็ได้รับการส่งเสริมทั้งจากภาคราชการและภาคเอกชน
ระบบเน็ตเวิร์คได้อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
จากในอดีตที่เราต้องเดินทางไปซื้อสินค้า จองตั๋ว ไปธนาคาร เราสามารถทำธุรกรรมต่างๆ
ได้โดยง่ายผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ และทั้งหมดนี้กระทำโดยผ่านระบบเน็ตเวิร์ค
NTP Sever ก็เป็นอุปกรณ์หลักตัวหนึ่งที่มีความจำเป็น
สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเน็ตเวิร์ค NTP Server เป็นแหล่งอ้างอิงของเวลาของระบบเน็ตเวิร์ค โดยในแต่ละ transaction ของการทำงานจะมีการบันทึกเวลา เพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง NTP Server
จึงเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ สำหรับองค์กรหรือหน่วยงาน ทั้งการใช้งานภายในหน่วยงานเอง
หรือรองรับการให้บริการแก่ภายนอก
คุณสมบัติในการทำ NTP
Redundancy ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่มีความสำคัญต่อภาพรวมของระบบเน็ตเวิร์ค โดยปกติอุปกรณ์หลักต่างๆ ในเน็ตเวิร์ค
ล้วนต้องการระบบสำรอง เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในกรณีที่อุปกรณ์หลัก (primary)
เกิดการขัดข้อง อุปกรณ์รอง (backup) ก็จะรับภาระทำหน้าแทน
เพื่อไม่ให้การทำงานของระบบเกิดการสะดุด
อุปกรณ์สำคัญๆ เช่น router core switch ก็มักจะมีการติดตั้งแบบ
redundancy เพื่อรองรับเหตุการณ์
หรือแม้กระทั่งภายในตัวอุปกรณ์เน็ตเวิร์คเอง ก็ยังต้องการคุณสมบัติของ redundant
power supply ซึ่งรองรับแหล่งจ่ายไฟจาก 2
แหล่ง เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานของตัวอุปกรณ์ล้มเหลว ในกรณีระบบไฟฟ้าขัดข้อง
NTP over Anycast
NTP over Anycast เป็นโปรโตคอลที่รองรับการทำงานของ
NTP redundancy โดยในเน็ตเวิร์คของหน่วยงานใดๆ
อาจจะมี NTP Server จำนวนมากกว่าหนึ่งตัว แต่ทางด้าน NTP
client ที่ไปขอซิงค์เวลา จะเห็นเพียงค่า IP address ค่าเดียว ซึ่งจะไปรับเวลามาจากตัว NTP Server ที่อยู่ใกล้ที่สุดในวง
จากหลักการทำงานที่ client
จะไปรับเวลาจาก NTP Server ที่อยู่ใกล้สุดในวง
ทำให้ค่าหน่วงเวลาที่เกิดขึ้น (Latency) มีค่าน้อย และมีค่า availability ของการไปซิงค์เวลาที่ดี
การจัดการสำหรับตัว client
ก็ง่ายและสะดวก เพราะการใช้ IP address เพียงค่าเดียว
จะทำได้ง่ายกว่าการที่จะต้องตั้งค่า IP address สำหรับการไปขอซิงค์เวลาจากหลายๆ
NTP Server
ซึ่งถ้าในกรณีที่หน่วยงานมีจำนวนเครื่องของ client เป็นจำนวนมาก
เช่น 1,000 เครื่อง การตั้งค่าให้รับเวลาเพียง IP
address เดียว จะประหยัดเวลากว่าการที่จะต้องตั้งค่าให้ client
ทั้งหมด จำนวน 1,000 เครื่องไปรับเวลาจากหลายๆ
NTP Server ใช้เวลาในการตั้งค่าสั้นลง และไม่ต้องกังวลว่า
NTP Server จะตัวไหนจะให้บริการ ซึ่งระบบจะเป็นตัวจัดการให้เองโดยอัตโนมัติ
นอกจากนั้นในบางกรณี client
ในเน็ตเวิร์คบางชนิด อาจจะมี client software ที่ไม่ซับซ้อนโดยสามารถใส่ค่าของ
NTP Server ได้เพียงค่าเดียว อุปกรณ์ดังกล่าวก็จะไม่สามารถทำการซิงค์เวลาได้เลยในกรณีที่
NTP Server ตัวหลักเกิดเสีย
(จะไปซิงค์เวลาจากตัวสำรองก็ไม่ได้ เพราะตัวสำรอง มีค่า IP address ทีต่างค่ากัน)
การทำงานของ NTP Server จะทำงานตามการจัดการของโปรโตคอล Open Shortest Path First (OSPF) ซึ่งเป็นโปรโตคอลพื้นฐานของตัวอุปกรณ์ router
ทั่วไป โดยจะไปซิงค์เวลาจากตัวที่ใกล้ที่สุดในเวลาปกติ และเมื่อ NTP
Server ในวงเกิดขัดข้อง โปรโตคอล OSPF ก็จะทำการ
route การซิงค์เวลาจาก client ไปยัง NTP
Server ตัวที่อยู่ใกล้กันตัวถัดไป (next nearest)
client สามารถซิงค์เวลาจาก NTP Server ได้ตามปกติจากตัวที่อยู่ใกล้กันตัวถัดไป
โดยไม่จำเป็นต้องรับรู้ถึงความผิดปกติของ NTP Server ที่อยู่ในวง
การทำงานจึงต่อเนื่องไม่เกิดการสะดุดใดๆ และเมื่อ NTP Server ในวงเดียวกัน กลับมาให้บริการได้อีกครั้ง client ก็จะกลับมาซิงค์เวลาจาก
NTP Server ตัวเดิมตามการทำงานของ OSPF
หลักการการทำงานของ NTP
over Anycast คือให้ NTP Server ทำงานร่วมกันกับ
โปรโตคอล OSPF ซึ่ง Spectracom เป็นผู้ผลิต
NTP Server รายแรกที่ประยุกต์ใช้คุณสมบัติดังกล่าว โดย NTP
Server จากผู้ผลิตรายอื่นในท้องตลาด ก็ยังไม่รองรับการทำงานนี้
นับว่า Spectracom เป็นผู้นำในวงการของ NTP Server อย่างแท้จริง
บทความนี้ได้ทำการแปลมาจาก บทความต้นฉบับของ Spectracom
ซึ่งสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลต้นฉบับตามลิงค์ดังต่อไปนี้
บริษัท NetSync (Thailand) Limited มีความยินดีที่จะให้คำปรึกษาเรื่องระบบ Master
Clock, NTP Server, Time & Frequency system
ติดต่อ คุณยุทธนา Tel:
089-136 6399
0 comments:
Post a Comment