Powered by Blogger.

NTP Server กับกรมพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ETDA

 จากประสบการณ์ในการทำงานด้านระบบ Clock system หรือบางที่ก็เรียกว่า ระบบ Main Master Clock ที่ทางบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด ได้ติดตั้งให้ลูกค้ามานานเกือบ 10 ปี จนทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และในบริการของทางบริษัทฯ เพราะเราทำตั้งแต่การให้คำแนะนำ, การออกแบบ, การติดตั้ง, ตลอดจนการบริการหลังการขาย จนทำให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ถ้าคิดจะติดตั้งระบบ Clock System, Main Master Clock, Sub Master Clock, NTP Server, GPS Time Server, Digital Broadcast system, Digital Clock, Analog Clock จะต้องนึกถึงบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด ก่อนเลยครับ


และนี่เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจครับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นลูกค้ารายล่าสุดที่ได้ให้ความไว้วางใจกับทางบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด ให้ติดตั้ง NTP Server เพื่อใช้ภายในองค์กรครับ

    ทีมติดตั้งจากบริษัท เทเลไซน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์   NTP Server  โดยมีการติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS บริเวณดาดฟ้าและเดินสายนำสัญญาณผ่านห้องชาร์ปเพื่อเดนสายไปตามแนวรางวายเวย์ในแนวดิ่งมายังจุดติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server ที่ ห้อง Network ชั้น 20 โดยมีการติดตั้ง Lightning Arrester  เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในกรณีที่ เกิดฟ้าผ่าด้วย

แผนภาพแสดงการติดตั้ง


เสาอากาศรับสัญญาณ GPS  เป็นประเภท Omni-Directional ซึ่งจะสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้รอบทิศทางของตัวเอง และสัญญาณดาวเทียม GPS เป็นสัญญาณในลักษณะ Line of Sight เพราะฉะนั้นจึงต้องทำการติดตั้งในบริเวณที่เห็นท้องฟ้าที่เปิดรอบทิศทาง  ไม่มีสิ่งใดมาขวาง ซึ่งสรุปจากการ Survey ว่า
ทางทีมติดตั้งจะติดตั้งบริเวณชั้นดาดฟ้า  เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่ เปิดเห็นฟ้ามากกว่า 50 % และไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยจะทำการติดตั้งคู่กับเสาจานดาวเทียมบริเวณริมผนัง ใช้หัว N-Type Connecter พร้อมกับพันเทปเพื่อป้องกันน้ำ เชื่อมต่อเข้ากับสายนำสัญญาณร้อยท่อ IMC ขนาด 4 หุน เดินสายตามแนวท่อเดิมเพื่อ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยไปยังห้องชาร์ปและร้อยสายลงไปตามรางวายเวย์เพื่อลงไปยังชั้น  20 บริเวณที่ ติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server โดยแสดงดังรูปภาพดังต่อไปนี้



     โดยภายในรูปภาพจะแสดงจุดติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS บริเวณชั้นดาดฟ้าด้วยวงกลมสีน้ำเงินและเดินสายด้วยสายนำสัญญาณร้อยท่อ IMC ตามแนวลูกศรสีแดงเพื่อไปยังห้องชาร์ปผ่านช่องลงไปยังห้อง Server ที่ ชั้น 20 

     หลังจากนั้นทางทีมติดตั้งได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยการเดินสายทั้งหมด และทางวิศวกรจะทำการ Setup Configuration  และทดสอบโดยต่อสายนำสัญญาณเข้ากับเครื่อง NTP Server เพื่อตรวจสอบการใช้งานของอุปกรณ์ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดตามภาพดังต่อไปนี้ 

(เนื่องจากห้อง Network ยังไม่แล้วเสร็จ ทางทีมจึงทำการ Test โดยการต่ออุปกรณ์ชั่วคราวก่อน)

     หลังจากทำการ Setup Configuration เรียบร้อย โดยตั้งค่า IP Address ให้กับตัวอุปกรณ์ NTP Server เป็น 192.168.1.61  อุปกรณ์ก็สามารถทำการเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมได้เป็นอย่างดี อุปกรณ์สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ทั้งหมด  6-8  ดวง  ซึ่งหลังจากปล่อยให้อุปกรณ์ทำการ  Survey เพื่อหาพิกัดที่ แน่นอนและให้อุปกรณ์  Sync  เพื่อรับเวลาเรียบร้อยแล้ว  เวลาที่แจกจ่ายออกไปนั้นจะมีความเที่ยงตรงสูงมาก ผู้ติดตั้งจึงทำการทดสอบโดยการนำเครื่อง Clients ทำการ Sync รับเวลาจากอุปกรณ์


     หลังจากที่ตั้งค่าให้โปรแกรมเชื่อมต่อกับ  IP Address  192.168.1.61  แล้ว รายละเอียดแสดงใน
รูปภาพ อุปกรณ์ทำงานอยู่ ในระดับ Stratum 1 โดยรับ Reference เป็น GPS และมีค่า Offset ต่ำกว่า 
1 มิลลิวินาที ดังแสดงในภาพด้านบน

     หลังจากนั้น ทางทีมติดตั้งได้ทำการตรวจสอบสถานะการทำงานของเครื่องอย่างละเอียดผ่าน  Web 
User Interface โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้


     โหมด Time and Frequency ในเครื่อง NTP Server สามารถทำงานได้ตามปกติ  โดยสามารถ Sync กับ Reference  ที่ระบุไว้ซึ่งคือ GPS0  หรือรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ตามปกติ และ สภาพการ
ทำงานของอุปกรณ์อยู่ ในสภาวะปกติโดยไม่อยู่ ในโหมด Holdover  ดังแสดงในรูปภาพด้านบน

หมายเหตุ:  ถ้าเครื่อง NTP Server แสดงสถานะว่าทำงานอยู่ในโหมด Holdover  เป็นการบ่งบอกว่าเครื่องไม่สามารถรับสัญญาณ GPS จากดาวเทียม หรือ Reference ทุกตัวที่ ระบุไว้ได้ โดยเวลาที่ แสดงอยู่นั้นเดินตาม Oscillator ภายในเครื่องเท่านั้น ซึ่งถ้าเครื่องทำงานอยู่ในโหมด Holdover ไฟ LEDs ที่ หน้าจอแสดงผลจะเปลี่ยนเป็นสีส้มในช่อง Sync และถ้าอุปกรณ์ SecureSync อยู่ในโหมด Holdover นานกว่าเวลาที่ ตั้งค่าไว้ อุปกรณ์จะไม่ทำการจ่ายเวลาออกไป 


     จากรูปภาพด้านบน โหมด GPS Input  โดย ณ เวลานั้นเครื่อง NTP Server มีสถานะการรับสัญญาณ 
Time และ 1PPS เป็นปกติ ทำงานอยู่ ในสถานะ Stationary Mode โดยสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียมได้
จำนวน 6 ดวงโดยที่  Offset เท่ากับ 0 นาโนวินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑมาตรฐานและ Antenna สามารถทำงาน
ได้ตามปกติ  ซึ่งในตารางด้านล่างจะแสดงถึงหมายเลขของดาวเทียมและค่าความแรงสัญญาณจากดาวเทียมที่ ทำการเชื่อมต่อเพื่อรับเวลาอยู่  ณ ขณะนั้น


     จากรูปภาพด้านบน ในหนา  Interface  นี้จะแสดงสถานะของเครื่อง  NTP Server  โดยแสดงในตาราง
ด้านบน และ Reference ของอุปกรณ์ในตารางด้านล่าง แสดงใหเห็นว่า ณ ขณะนั้นเครื่อง NTP Server 
สามารถเชื่อมต่อได้เป็นปกติโดยทำงานอยู่ ในระดับ Stratum 1 โดยมีค่า Offset อยู่ ที่  0.021 มิลลิวินาที 
หรือเท่ากับ 21 ไมโครวินาที

สรุปผลการติดตั้ง:  

     หลังจากทำการติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS บริเวณชั้นดาดฟ้า  เดินสายสัญญาณมายังอุปกรณ์ 
NTP Server  ที่บริเวณห้อง Server  ชั้น  20 เมื่อทำการเปิดเครื่องและตั้งค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว  อุปกรณ์
สามารถทำงานได้เป็นปกติทุกอย่าง  โดยขณะทำการตรวจสอบนั้น อุปกรณ์สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ถึง  6  ดวง  ทำให้เวลาที่ ได้รับนั้นถูกต้องและมีความแม่นย่ำสูงมาก  ซึ่งจากการตรวจสอบค่าOffset  นั้น ผลอยู่ ในเกณฑ์ปกติดี  

     อุปกรณ์  NTP server  ที่ ติดตั้งมีความพร้อมสำหรับใช้งานจริงเพื่อจ่ายสัญญาณเวลาอ้างอิงให้กับ
ระบบ Network ของ สพธอ. (ETDA) ได้

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร ยินดีให้คำปรึกษาครับ (ฟรี)
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์จำกัด
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th
  

0 comments:

Post a Comment