Powered by Blogger.

NTP Server ใช้ในระบบของธนาคาร

          ทางบริษัทได้รับความไว้วางใจให้ติดตั้งอุปกรณ์  NTP Server ให้กับธนาคารยูโอบี (UOB) ซึ่งทาง บริษัทฯ ได้มีการเข้าไปสำรวจสถานที่จริงก่อนการติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server ที่ธนาคารยูโอบี (UOB) จำกัด(มหาชน) สำนักงานใหญ่ เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการติดตั้งเสาอากาศ GPS Antenna และเพื่อสำรวจแนวทางเดินสายนำสัญญาณที่เหมาะสมระหว่างเสาอากาศ GPS ไปยังอุปกรณ์ NTP Server


        จากการสำรวจเบื้องต้น อุปกรณ์ NTP Server จะทำการติดตั้งบริเวณตู้ Rack-02 เดิม ภายในห้อง Network ชั้น 3 และจะมีการติดตั้ง Lightning Arrester เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในกรณีที่เกิดฟ้าผ่า จากนั้นทำการเดินสายสัญญาณไปยังเสาอากาศรับสัญญาณ GPS ซึ่งจะติดตั้งบริเวณ Air Condensers เหนือระเบียงชั้น 4

          เสาอากาศรับสัญญาณ GPS จะถูกติดตั้งในบริเวณที่เปิดเห็นฟ้าโดยไม่มีสิ่งบดบังเพื่อให้เสาอากาศสามารถรับสัญญาณได้ดีที่สุดเนื่องจากเสาอากาศเป็นประเภท Omni-Directional ซึ่งจะสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้รอบทิศทางของตัวเอง และสัญญาณดาวเทียม GPS เป็นสัญญาณในลักษณะ Line of Sight  ซึ่งทางทีมสำรวจสรุปว่าควรจะติดตั้งที่บริเวณ Air Condensers เหนือระเบียงชั้น เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่เปิดเห็นฟ้ามากกว่า 50 % และใกล้กับห้อง Server ชั้น 3 มากที่สุด โดยจะติดตั้งในบริเวณดังภาพต่อไปนี้


โดยเสาอากาศจะติดตั้งที่มุมซ้ายสุดของผนัง เสาอากาศ GPS ที่ใช้ติดตั้งจริงจะมีขนาดเล็กประมาณ 12 ซม. และมีน้ำหนักเบา โดยจะถูกยึดกับแกนเสาอากาศซึ่งเป็นวัสดุพีวีซีซึ่งมีน้ำหนักเบา มีความยาวประมาณ 60 ซม. เนื่องจากทั้งเสาอากาศและแกนมีน้ำหนักเบา สามารถใช้แคล้มปะกับรางซีสำหรับการติดตั้งก็มีแรงมากพอสำหรับการยึดเสาอากาศ พร้อมกับทำการเดินสายนำสัญญาณด้วยท่อ IMC ขนาด 4 หุนร่วมกับท่อ Flexible แบบกันน้ำขนาด 4 หุนโดยเดินสายตามแนวร้อยท่อเดิมเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และร้อยสายลงไปตามแนวท่อที่ห้อง AHU-3B ดังรูป


ภายในห้อAHU-3B จุดที่สายร้อยลงมาจากบริเวณ Air Condensers เหนือระเบียงชั้น 4 แสดงในวงกลมดังรูปและทำการเดินสายด้วย Metal Flexible Conduit ตามแนวเดิมเพื่อความเป็นระเบียบตามเส้นสีแดงดังรูป


เมื่อเดินสายตามเส้นดังรูปภาพที่ผ่านมาแล้ว ทางทีมติดตั้งจะทำการร้อยสายตามรอยเดิมที่เดินไว้อยู่แล้วเข้าช่องดังรูป เดินสายไปยังห้อง Network ด้วย Metal Flexible Conduit ตามแนว Cable Tray ภายใต้ Raised Floor และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Lighting Arrester เพื่อป้องกันฟ้าฝ่า ซึ่งจากการสำรวจจะติดตั้ง Lightning Arrester ภายในบริเวณตู้ Rack-02 ในห้อง Network
หลังจากนั้นทำการลากสายสัญญาณเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ NTP Server ซึ่งติดตั้งอยู่ภายในตู้ Rack-02 โดยจะเดินสายอย่างเป็นระเบียบและเก็บสายอย่างดีเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย


เมื่อทำการติดตั้งเสาอากาศ สายนำสัญญาณ และ อุปกรณ์ Server เสร็จสิ้นแล้ว ทางวิศวกรจะทำการ Setup Configuration, Commissioning และทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง
นี่เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของบริษัท เทเลไซน์(ประเทศไทย)จำกัด ที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรและสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันธนาคาร อย่างธนาคาร ยูโอบี (UOB) 
ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร ยินดีให้คำปรึกษาครับ (ฟรี)
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์)จำกัด 
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

Epsilon Clock

Epsilon Clock


เป็นผลิตภัณฑ์อีกรุ่นของ Spectracom ที่เหมาะสมกับพวกที่ใช้งานในลักษณะ Digital Broadcast คือ จะเน้นในส่วนของ 1PPS, 10MHZ ที่มีจำนวน port ค่อนข้างมาก  และนี่เองทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากทาง สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ หรือ ช่อง11 (Channal 11) ให้เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงได้เข้าไปสำรวจและติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ดังรูปที่แสดงด้านล่างนี้


จากการสำรวจเบื้องต้น อุปกรณ์ Epsilon Clock จะทำการติดตั้งบริเวณตู้  Rack  ภายในห้องเครื่องส่ง ชั้น  2  และจะมีการติดตั้ง  Lightning Arrester  เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในกรณีที่ เกิดฟ้าผ่า จากนั้นทำการเดินสายสัญญาณไปยังเสาอากาศรับสัญญาณ GPS ซึ่งจะติดตั้งบริเวณระเบียงดาดฟ้า ชั้น 3

      เสาอากาศรับสัญญาณ  GPS  จะถูกติดตั้งในบริเวณที่ เปิดเห็นฟ้าโดยไม่มีสิ่งบดบังเพื่อให้เสาอากาศสามารถรับสัญญาณได้ดีที่สุดเนื่องจากเสาอากาศเป็นประเภท  Omni-Directional  ซึ่งจะสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้รอบทิศทางของตัวเอง และสัญญาณดาวเทียม GPS เป็นสัญญาณในลกษณะ Line of Sight  ซึ่งทางทีมสำรวจสรุปว่าควรจะติดตั้งที่ บริเวณระเบียงดาดฟ้า  ชั้น  3  เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่่ เปิดเห็นฟ้ามากกว่า 50 % และใกล้กับห้องเครื่องส่ง  ชั้น 2 มากที่สุด โดยจะติดตั้งในบริเวณดังภาพต่อไปนี้  


โดยเสาอากาศจะติดตั้งที่ ด้านซ้ายติดกับผนังบริเวณวงกลมสีแดงดังรูป  เสาอากาศ  GPS  ที่ ใช้ติดตั้งจริงจะมีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา  สามารถใช้แกนเหล็กยาวประมาณ  50 ซม.ยึดกบ Mounting Kit สำหรับการติดตั้งก็มีแรงมากพอสำหรับการยึดเสาอากาศ พร้อมกับทำการเดินสายนำสัญญาณด้วยทอ Flexible แบบกันน้ำขนาด 4 หุนรวมกับท่อ IMC ขนาด 4 หุน โดยเดินสายตามแนวเดิมเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และร้อยสายลงไปเพื่อเขาแนวสายที่  Cable Tray เพื่อเขาไปในห้องเครื่องส่ง  ชั้น 2 ดังรูป





เมื่อเดินสายตามเส้นเดิมเข้าไปยังแนว Cable Tray เพื่อเข้าห้องเครื่องส่งผ่านทางช่องในวงกลมดังรูปทางที่มีติดตั้งจะทำการร้อยสายตามรอยเดิมที่ เดินไว้อยู่ แล้วไปยังตู้  Rack ใหม่ที่ จะทำการติดตั้งบริเวณกรอบสีฟ้าโดยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Lighting Arrester เพื่อป้องกันฟ้าฝ่าก่อนจะต่อกับอุปกรณ์ Epsilon Clock  ซึ่งจากการสำรวจจะติดตั้ง Lightning Arrester ภายในบริเวณตู้  Rack ใหม่ในห้องเครื่องส่งเมื่อทำการติดตั้งเสาอากาศ สายนำสัญญาณ และ อุปกรณ์ Epsilon Clock เสร็จสิ้นแล้ว ทางวิศวกรจะทาการ Setup Configuration, Commissioning และทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง 

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร ยินดีให้คำปรึกษาครับ (ฟรี)
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์)จำกัด
Tel: 089-1366399,090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

SecureSync กับ MIL-STD-810F

MIL-STD หรือ Military Standard เป็นมาตรฐานของอุปกรณ์ ที่มีคุณบัติเพียงพอที่จะสามารถนำในไปใช้กับภารกิจทางด้านการทหารได้ 

โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม กองทัพบกสหรัฐที่มีชื่อว่า Department of Defense, The U.S. Army Test and Evaluation Command (ATEC) จะเป็นหน่วยงานที่ให้รับรองผลิตภัณฑ์ต่างๆให้ เป็นไปตามมาตรฐานทางทหาร โดยปกติ Military Standard จะเป็นเกรดสินค้าที่มีความทนทานสูงกว่า สินค้าในกลุ่ม Commercial ทั่วไป

อุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบ MIL-STD จะสามารถนำไปใช้ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างสมบุกสมบันกว่าการใช้งานของอุปกรณ์เน็ตเวิคปกติ เช่น สามารถใช้ได้ในอุณหภูมิที่สูงถึง 65 องศาเซลเซียส ทนทานต่อการกระแทก การสั่นสะเทือน และสามารถนำไปใช้ในที่สูงถึง 2,000 - 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

ซึ่งตามข้อกำหนดของมาตรฐาน  MIL-STD-810F จะแบ่งเป็น 2 part คือ

-  PART ONE จะเป็น ENVIRONMENTAL ENGINEERING PROGRAM GUIDELINES 
-  PART TWO จะเป็น LABORATORY TEST METHODS

และปัจจุบันก็ได้มีมาตรฐานที่อัพเดท มากขึ้นเป็น MIL-STD-810G แล้วครับ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ตามลิ้งต่อไปนี้นี้  

ปัจจุบันเทคโนโลยีของ NTP Server ก็ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานนี้มากครับ โดยทางยี่ห้อ Spectracom เองก็มีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานนี้อยู่หลายตัวเหมือนกัน หนึ่งในนั้นเป็นรุ่น SecureSync ได้ผ่านมาตรฐาน MIL-STD-810F นี้ด้วย


ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร ยินดีให้คำปรึกษาครับ (ฟรี)
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์)จำกัด
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

NTP Server กับกรมพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ETDA

 จากประสบการณ์ในการทำงานด้านระบบ Clock system หรือบางที่ก็เรียกว่า ระบบ Main Master Clock ที่ทางบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด ได้ติดตั้งให้ลูกค้ามานานเกือบ 10 ปี จนทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และในบริการของทางบริษัทฯ เพราะเราทำตั้งแต่การให้คำแนะนำ, การออกแบบ, การติดตั้ง, ตลอดจนการบริการหลังการขาย จนทำให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ถ้าคิดจะติดตั้งระบบ Clock System, Main Master Clock, Sub Master Clock, NTP Server, GPS Time Server, Digital Broadcast system, Digital Clock, Analog Clock จะต้องนึกถึงบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด ก่อนเลยครับ


และนี่เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจครับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นลูกค้ารายล่าสุดที่ได้ให้ความไว้วางใจกับทางบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด ให้ติดตั้ง NTP Server เพื่อใช้ภายในองค์กรครับ

    ทีมติดตั้งจากบริษัท เทเลไซน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์   NTP Server  โดยมีการติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS บริเวณดาดฟ้าและเดินสายนำสัญญาณผ่านห้องชาร์ปเพื่อเดนสายไปตามแนวรางวายเวย์ในแนวดิ่งมายังจุดติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server ที่ ห้อง Network ชั้น 20 โดยมีการติดตั้ง Lightning Arrester  เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในกรณีที่ เกิดฟ้าผ่าด้วย

แผนภาพแสดงการติดตั้ง


เสาอากาศรับสัญญาณ GPS  เป็นประเภท Omni-Directional ซึ่งจะสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้รอบทิศทางของตัวเอง และสัญญาณดาวเทียม GPS เป็นสัญญาณในลักษณะ Line of Sight เพราะฉะนั้นจึงต้องทำการติดตั้งในบริเวณที่เห็นท้องฟ้าที่เปิดรอบทิศทาง  ไม่มีสิ่งใดมาขวาง ซึ่งสรุปจากการ Survey ว่า
ทางทีมติดตั้งจะติดตั้งบริเวณชั้นดาดฟ้า  เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่ เปิดเห็นฟ้ามากกว่า 50 % และไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยจะทำการติดตั้งคู่กับเสาจานดาวเทียมบริเวณริมผนัง ใช้หัว N-Type Connecter พร้อมกับพันเทปเพื่อป้องกันน้ำ เชื่อมต่อเข้ากับสายนำสัญญาณร้อยท่อ IMC ขนาด 4 หุน เดินสายตามแนวท่อเดิมเพื่อ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยไปยังห้องชาร์ปและร้อยสายลงไปตามรางวายเวย์เพื่อลงไปยังชั้น  20 บริเวณที่ ติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server โดยแสดงดังรูปภาพดังต่อไปนี้



     โดยภายในรูปภาพจะแสดงจุดติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS บริเวณชั้นดาดฟ้าด้วยวงกลมสีน้ำเงินและเดินสายด้วยสายนำสัญญาณร้อยท่อ IMC ตามแนวลูกศรสีแดงเพื่อไปยังห้องชาร์ปผ่านช่องลงไปยังห้อง Server ที่ ชั้น 20 

     หลังจากนั้นทางทีมติดตั้งได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยการเดินสายทั้งหมด และทางวิศวกรจะทำการ Setup Configuration  และทดสอบโดยต่อสายนำสัญญาณเข้ากับเครื่อง NTP Server เพื่อตรวจสอบการใช้งานของอุปกรณ์ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดตามภาพดังต่อไปนี้ 

(เนื่องจากห้อง Network ยังไม่แล้วเสร็จ ทางทีมจึงทำการ Test โดยการต่ออุปกรณ์ชั่วคราวก่อน)

     หลังจากทำการ Setup Configuration เรียบร้อย โดยตั้งค่า IP Address ให้กับตัวอุปกรณ์ NTP Server เป็น 192.168.1.61  อุปกรณ์ก็สามารถทำการเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมได้เป็นอย่างดี อุปกรณ์สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ทั้งหมด  6-8  ดวง  ซึ่งหลังจากปล่อยให้อุปกรณ์ทำการ  Survey เพื่อหาพิกัดที่ แน่นอนและให้อุปกรณ์  Sync  เพื่อรับเวลาเรียบร้อยแล้ว  เวลาที่แจกจ่ายออกไปนั้นจะมีความเที่ยงตรงสูงมาก ผู้ติดตั้งจึงทำการทดสอบโดยการนำเครื่อง Clients ทำการ Sync รับเวลาจากอุปกรณ์


     หลังจากที่ตั้งค่าให้โปรแกรมเชื่อมต่อกับ  IP Address  192.168.1.61  แล้ว รายละเอียดแสดงใน
รูปภาพ อุปกรณ์ทำงานอยู่ ในระดับ Stratum 1 โดยรับ Reference เป็น GPS และมีค่า Offset ต่ำกว่า 
1 มิลลิวินาที ดังแสดงในภาพด้านบน

     หลังจากนั้น ทางทีมติดตั้งได้ทำการตรวจสอบสถานะการทำงานของเครื่องอย่างละเอียดผ่าน  Web 
User Interface โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้


     โหมด Time and Frequency ในเครื่อง NTP Server สามารถทำงานได้ตามปกติ  โดยสามารถ Sync กับ Reference  ที่ระบุไว้ซึ่งคือ GPS0  หรือรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ตามปกติ และ สภาพการ
ทำงานของอุปกรณ์อยู่ ในสภาวะปกติโดยไม่อยู่ ในโหมด Holdover  ดังแสดงในรูปภาพด้านบน

หมายเหตุ:  ถ้าเครื่อง NTP Server แสดงสถานะว่าทำงานอยู่ในโหมด Holdover  เป็นการบ่งบอกว่าเครื่องไม่สามารถรับสัญญาณ GPS จากดาวเทียม หรือ Reference ทุกตัวที่ ระบุไว้ได้ โดยเวลาที่ แสดงอยู่นั้นเดินตาม Oscillator ภายในเครื่องเท่านั้น ซึ่งถ้าเครื่องทำงานอยู่ในโหมด Holdover ไฟ LEDs ที่ หน้าจอแสดงผลจะเปลี่ยนเป็นสีส้มในช่อง Sync และถ้าอุปกรณ์ SecureSync อยู่ในโหมด Holdover นานกว่าเวลาที่ ตั้งค่าไว้ อุปกรณ์จะไม่ทำการจ่ายเวลาออกไป 


     จากรูปภาพด้านบน โหมด GPS Input  โดย ณ เวลานั้นเครื่อง NTP Server มีสถานะการรับสัญญาณ 
Time และ 1PPS เป็นปกติ ทำงานอยู่ ในสถานะ Stationary Mode โดยสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียมได้
จำนวน 6 ดวงโดยที่  Offset เท่ากับ 0 นาโนวินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑมาตรฐานและ Antenna สามารถทำงาน
ได้ตามปกติ  ซึ่งในตารางด้านล่างจะแสดงถึงหมายเลขของดาวเทียมและค่าความแรงสัญญาณจากดาวเทียมที่ ทำการเชื่อมต่อเพื่อรับเวลาอยู่  ณ ขณะนั้น


     จากรูปภาพด้านบน ในหนา  Interface  นี้จะแสดงสถานะของเครื่อง  NTP Server  โดยแสดงในตาราง
ด้านบน และ Reference ของอุปกรณ์ในตารางด้านล่าง แสดงใหเห็นว่า ณ ขณะนั้นเครื่อง NTP Server 
สามารถเชื่อมต่อได้เป็นปกติโดยทำงานอยู่ ในระดับ Stratum 1 โดยมีค่า Offset อยู่ ที่  0.021 มิลลิวินาที 
หรือเท่ากับ 21 ไมโครวินาที

สรุปผลการติดตั้ง:  

     หลังจากทำการติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS บริเวณชั้นดาดฟ้า  เดินสายสัญญาณมายังอุปกรณ์ 
NTP Server  ที่บริเวณห้อง Server  ชั้น  20 เมื่อทำการเปิดเครื่องและตั้งค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว  อุปกรณ์
สามารถทำงานได้เป็นปกติทุกอย่าง  โดยขณะทำการตรวจสอบนั้น อุปกรณ์สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ถึง  6  ดวง  ทำให้เวลาที่ ได้รับนั้นถูกต้องและมีความแม่นย่ำสูงมาก  ซึ่งจากการตรวจสอบค่าOffset  นั้น ผลอยู่ ในเกณฑ์ปกติดี  

     อุปกรณ์  NTP server  ที่ ติดตั้งมีความพร้อมสำหรับใช้งานจริงเพื่อจ่ายสัญญาณเวลาอ้างอิงให้กับ
ระบบ Network ของ สพธอ. (ETDA) ได้

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร ยินดีให้คำปรึกษาครับ (ฟรี)
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์จำกัด
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th
  

Read more

Sapling (Digital & Analog Clock) for Master Clock

ปัจจุบันในประเทศไทยมีนาฬิกาที่ใช้กับระบบ Master Clock ที่รับเวลาจาก NTP Server เพียงไม่กี่ยี่ห้อที่มีคุณภาพสูง ซึ่งทางบริษัท  เทเลไซน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ก็ได้เป็นตัวแทนทั้ง ยี่ห้อ Gorgy-Timing จากประเทศฝรั่งเศส, ยี่ห้อ MasterClock จากประเทศสหรัฐอเมริกา, ล่าสุดทาง เราได้เป็นตัวแทนของยี่ห้อ Sapling จากประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นแบรนด์น้องใหม่ในวงการนี้ แต่ Spec และ Feature ต่างๆที่ทาง Sapling มีนั้น ไม่น้อยหน้ายี่ห้อรุ่นพี่อย่าง Gorgy-Timing และ Master Clock เลย จะเห็นได้จาก Spec ต่างๆ (สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.sapling-inc.com/ )
ผมจะขอยกตัวอย่างซักรุ่นนะครับ  รุ่น SBP 3000 Series IP Digital Clock เป็นนาฬิกาดิจิตอล




























ซึ่งพอจะสรุปคุณสมบัติได้ดังต่อไปนี้
-          เป็นนาฬิกาแบบ Seven Segment สีแดง
-          แสดงเวลา 4 หลัก ชั่วโมง นาที หรือ 6 หลัก ชั่วโมง นาที และวินาที หรือแสดงวันที่ก็ได้
-          ปรับความสว่างของการแสดงผลได้หลายระดับ
-          รองรับ NTP (Network Time Protocol)
-          แสดงค่า IP Address ของอุปกรณ์ จากหน้าจอแสดงเวลาได้
-          รองรับการเชื่อมต่อผ่าน Ethernet และเป็นแบบ POE
และยังมี Feature เด่นๆ อีกมากมาย ที่ยี่ห้อรุ่นพี่ อย่าง MasterClock และ Gorgy-Timing ยังไม่มี  และที่สำคัญ ‘’คุณภาพดี ราคาถูก’’
ถ้าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่ผมได้ตลอดเวลานะครับ

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร ยินดีให้คำปรึกษาครับ (ฟรี)
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์จำกัด
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

IEEE 1588 Precision Time Protocol (PTP) มาแทนที่ NTP Protocol จริงหรือ?

        ในปัจจุบันการวิวัฒนาการในการโอนถ่ายข้อมูลที่มีความเร็วที่สูงขึ้น  การ Sync เวลาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องการความเทียงตรงและแม่นยำเพิ่มขึ้น แต่เดิมใช้เป็น NTP โปรโตคอลที่จะมีความแม่นยำในระดับ มิลลิวินาที ปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็น PTP โปรโตคอล ซึ่ง PTP โปรโตคอลจะมีความแม่นยำในระดับ นาโนวินาที  ซึ่งมีค่าเทียบเคียงได้กับความแม่นยำที่ได้รับจาก GPS เลยทีเดียว


Precision Time Protocol  (PTP v1) ได้มีการเผยแพร่ออกมาในปี 2002

Precision Time Protocol Version 2  (PTP v2) ได้มีการเผยแพร่ออกมาในปี 2008 

(ข้อมูลอย่างเป็นทางการในเวบไซด์  www.ieee1588.nist.gov)






Flow การทำงานของ PTP Protocol






PTP ได้มีการนำไปใช้งานจริงใน งานด้านวิทยาศาสตร์และวิศกรรมหลายๆด้าน ดังต่อไปนี้

1) Test Ranges/Flight:  iNET   (iNET เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับ Telemetry และระบบทดสอบการบิน)

2) Smart Grid:  IEC 61850   (IEC 61850 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบควบคุม และสื่อสารของโรงไฟฟ้า)

3) Video & Broadcast:   SMPTE   (SMPTE เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับ Digital Broadcast/ Digital TV)

4) Telecom:   ITU-T G.8161/8162 /SyncE   (SyncE เป็นมาตรฐานเวลาที่ใช้ในงานโทรคมนาคม เช่นระบบ 3G)

5) Test & Measurement:   LXI-B    (LXI-B  เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวเครื่องมือวัดและทดสอบ)




ตัวอย่างของ PTP Network ที่ประกอบด้วย PTP Grandmaster และ PTP Slave



อุปกรณ์ในโครงข่าย PTP จะมีค่าความแม่นยำสูงในระดับเทียบเคียงได้กับ GPS ได้โดยผ่านทางระบบ Network  (ลดความยุ่งยากที่จะต้องติดตั้งเสาอากาศ GPS ในทุก node)

ซึ่งปัจจุบันทาง Spectracom มี PTP Card Option ที่ใช้กับ NTP Server รุ่น SecureSync ซึ่งเป็น 1 ในบรรดาหลายๆ รุ่นของ Spectracom ที่มีความหยืดหยุ่นมากในการใช้งาน 



SecureSync 
เป็นอุปกรณ์ Time & Frequency ที่สามารถทำการ upgrade และ Scalable ได้ เช่น สมมุติว่า ปัจจุบันลูกค้าใช้ SecureSync อยู่และลูกค้าคาดการว่าภายอีก 1-2 ปีข้างหน้า จำนวนอุปกรณ์ใน Network จะเพิ่มขึ้น  ทางลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องจัดหา NTP Server ใหม่แต่อย่างใด เพราะสามารถซื้อ Option Card ที่เป็น Gigabit Ethernet มาเพิ่มได้ โดยเสียบที่ Slot ด้านหลัง SecureSync ได้ครับ เพื่อแยก Network ให้เป็นอิสระต่อกัน  NTP Server ตัวเดิมก็จะมี พอร์ตเน็ตเวิคเพิ่มขึ้นมาอีกถึง 3 พอร์ต และ SecureSync ยังรองรับ  Precision Time Protocol (PTP module) ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะมาในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยครับ โดยใช้ Base unit เดิมก็สามารถเพิ่มเติมการใช้งาน PTP ได้
ด้านหน้า


ด้านหลัง


เมื่อใส่ Module ต่างๆเพิ่ม

ตัวเครื่องด้านหน้าการออกแบบดูทันสมัยและใช้งานได้ง่าย โดยเห็นจากมีปุ่นกดด้านหลังเพื่อช่วยในการ Config ค่าต่างๆ และถ้าดูจากทางด้านหลังจะเห็นได้ว่าทาง Spectracom ได้ออกแบบให้รุ่น SecureSync มี Slot สำหรับรองรับการใช้งานและการขยายตัวของลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆอีกด้วย ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก


ถ้าต้องการคำปรึกษาเรื่องระบบ Clock system, ระบบ Main Master Clock, ระบบ Sub Master Clock, ระบบ NTP Server, GPS NTP Server, Time Server, ร่าง TOR ระบบ Clock System,

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร ยินดีให้คำปรึกษาครับ
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more