Powered by Blogger.

Global Navigation Satellite Systems (GNSS)





จากในอดีตที่เรารู้จัก และคุ้นเคยกันกับระบบ GPS ปัจจุบันเทคโนโลยี่ด้านนี้ ได้มีการพัฒนาไปในลัษณะที่ขยายขอบเขตมากขึ้น การพัฒนาระบบ Positioning Navigation and Timing ได้มีการรวมตัวกันจาก เทคโนโลยี่ทั้งทางฝั่งอเมริกา ยุโรป รัสเซีย จนถึงจีน และได้มีชื่อเรียกเป็นระบบกลางคือ “Global Navigation Satellite Systems” หรือที่เรียกย่อว่า GNSS โดยระบบที่มีการใช้งานปฏิบัติการใช้งานสมบูรณ์เต็มรูปแบบแล้ว ได้แก่ GPS (อเมริกา) และ GLONASS (รัสเซีย) และระบบที่อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นการใช้งานเต็มรูปแบบคือ Galileo (สหภาพยุโรป) และ Compass (จีน ชื่อระบบเดิม BeiDou)

สำหรับ Galileo และ Compass มีแผนการพัฒนาให้ใช้งานได้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบภายในปี 2020


สัญญาณ GPS ที่ส่งออกมาจากระบบดาวเทียม จะมีการใช้งานทั้งทางด้านการทหาร และทางด้านพลเรือนทั่วไป สำหรับสัญญาณที่นำมาใช้สำหรับกิจการพลเรือนทั่วไป จะใช้ในย่านความถี่ L1 โดยมีค่าความถี่กลางที่ 1575.42 MHz

สัญญาณ GPS โดยปกติจะเป็นสัญญาณแบบ Line of Sight ซึ่งหมายความว่า เสารับสัญญาณหรือเครื่องรับจะต้องอยู่ในลักษณะมองเห็นฟ้า ไม่มีอะไรมาบดบัง ซึ่งเรามาสามารถเทียบเคียงได้กับเครื่องรับ GPS ที่ใช้นำทาง ผู้ใช้จะต้องติดตั้งอยู่ที่หน้ากระจกรถยนต์ เพื่อรับสัญญาณ






นอกจากนั้นสัญญาณ GPS เป็นสัญญาณที่มีการเข้ารหัส โดยใช้เทคโนโลยี่แบบ Spread Spectrum ที่มีพื้นฐานเดียวกันกับระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ทำให้สัญญาณที่ได้รับ มีคุณภาพสูง แม้ว่าสัญญาณที่ได้รับจะมีพลังงานต่ำ แต่ก็ยังสามารถนำมาถอดรหัสและประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความถี่ของ GPS L1 ยังมีค่าความถีที่ไม่สูงเกินไป ซึ่งถ้าเทียบกับระบบโทรศัพท์ เช่น GSM 1800MHz หรือ 3G 2100MHz สัญญาณ GPS L1 ยังมีความถี่ต่ำกว่าสัญญาณโทรศัพท์อีก

ดังนั้น สัญญาณ GPS L1 จึงแตกต่างจากสัญญาณดาวเทียมอื่นๆ เช่น Ku Band และจะไม่ได้รับผลกระทบจากฝนตกเหมือนกับ สัญญาณ Ku Band ที่ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อฝนตก

ผู้ผลิตและพัฒนาระบบอย่าง Spectracom นับเป็นรายแรกในวงการ ที่ได้ริเริ่มการผลิตอุปกรณ์ GPS Time & Frequency Server ที่รับสัญญาณดาวเทียมแบบ Dual Systems ขึ้น คือตัวอุปกรณ์ server สามารถรับสัญญาณและประมวลผลทั้งระบบ GPS และ GLONASS ได้ในเวลาเดียวกัน

ทั้งนี้สิ่งที่เป็นแรงส่งเสริมให้ Spectracom เป็นผู้ผลิต Dual Systems สำเร็จเป็นรายแรก คือ Spectracom มีโรงงานการผลิตและวิจัยอยู่ทั้งในฝั่งอเมริกาและยุโรป ได้แก่ที่เมือง Rochester (USA) Les Ulis (France) และ Basingstoke (UK) Spectracom จึงได้นำเทคโนโลยี่ ที่มีอยู่จากทั้งสองทวีป อเมริกาและยุโรป มาพัฒนาร่วมกันได้รวดเร็ว ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับผู้ผลิตคู่แข่งรายอื่นๆแล้ว บริษัทคู่แข่งทั้งหลาย มีฐานการผลิตตั้งอยู่เพียงภายในประเทศเดียวเท่านั้น เช่น บริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือบริษัทในประเทศเยอรมันนี Spectracom จึงเป็นบริษัทที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี่ด้าน Positioning Navigation and Timing รวดเร็วกว่าบริษัทใดๆ

สามารถติดต่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับระบบ Clock System, ระบบ Main Master Clock, ระบบ Sub Master Clock, GPS Time server, NTP Server, Time Server, ร่าง TOR ระบบ Clock system ทางเรายินดีให้คำปรึกษาในทุกเรื่อง

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399, 090279-2501
www.netsync.co.th

0 comments:

Post a Comment