Powered by Blogger.

GNSS Application: Digital Broadcast system

เมื่อเทคโนโลยี่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบการส่งแพร่ภาพสัญญาณแบบ อนาล็อก ก็ถึงยุคสิ้นสุดไปตามกาลเวลา บทความนี้จะกล่าวถึงการประยุกต์ใช้งาน GNSS กับระบบ Digital Broadcast

ทำไม ดิจิตอล ทีวี ถึงได้มาแทนที่ระบบอนาล็อกแบบเดิม?   ระบบการประมวลผล แบบดิจิตอล เป็นระบบการประมวลผลที่ดีที่สุดในขณะนี้ เพราะมีการใช้ช่องสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพมาก เช่น สามารถใช้ช่องสัญญาณร่วมกันได้ (Multiplexing) สามารถเข้ารหัสสัญญาณได้ (Data Encryption) สามารถลดขนาดหรือบีบอัดข้อมูลได้ (Data Compression & Coding) สามารถแก้ไขความผิดพลาดที่ปลายทางได้ (Error Correction) และอื่นๆ ซึ่งกระบวนการประมวลผลเหล่านี้ส่งผลให้ระบบ ดิจิตอล ทีวี มีความคมชัดของสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงมีความละเอียดสูงมาก ที่เรียกกันว่า High Definition

ระบบ Digital Broadcast มีโครงสร้างหลักของการแปลงสัญญาณ คือแปลงสัญญาณจากอนาล็อก เป็นดิจิตอล เช่นเดียวกันกับระบบสื่อสารแบบดิจิตอลโดยทั่วไป และในท้ายที่สุดก็จะมีการแพร่คลื่นเพื่อส่งสัญญาณจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ โดยอาศรัยการ Modulation เพื่อแพร่ภาพและกระจายเสียง ผ่านคลื่นพาหะ (Carrier frequency) ตามช่องความถี่ที่ได้กำหนดไว้ของแต่ละสถานี

อุปกรณ์ GNSS Receiver จึงมีความจำเป็นสำหรับการจ่าย สัญญาณอ้างอิงของเวลาที่แม่นยำในกระบวนการ Multiplexing และแหล่งผลิตความถี่ที่แม่นยำสำหรับการ Modulation โดยสัญญาณอ้างอิงที่ใช้กันในระบบ Digital Broadcast ได้แก่

·        - 10 MHz (Sin Wave)
·        - 1 PPS (One Pulse per Second)

10 MHz และ 1 PPS เป็นสัญญาณหลักที่มีการนำไปใช้งานเป็นความถี่อ้างอิง สำหรับการผลิต Carrier frequency โดยสัญญาณเหล่านี้ เป็นสัญญาณ input ที่นำไปใช้กับวงจรสังเคราะห์ความถี่ (frequency synthesizer) หรือวงจรคูณความถี่ (frequency multiplier) ซึ่งจะได้ผลลัพธิ์คือความถี่ในย่านต่างๆ เช่น IF frequency หรือความถี่พาหะ VHF UHF และความถี่ใดๆ ที่จะนำไปใช้ต่อไป ในกระบวนการ Modulation

นอกจากนี้ ระบบ Digital Broadcast ยังมีความต้องการ สัญญาณเวลาอ้างอิงมาตรฐาน สำหรับการบันทึกเวลาปัจจุบัน (Time Stamps)  อุปกรณ์ GNSS Receiver ก็จะมีสัญญาณ NTP จ่ายให้กับระบบบันทึกเวลาหรืออุปกรณ์ประมวลผลต่างๆ ผ่านทางพอร์ต network เช่น 10/100Base-T หรือ Gigabit ได้





ถ้าถามว่าทำไมจึงต้องใช้ สัญญาณ 10MHz และ 1PPS ที่จ่ายออกมาจาก GNSS Receiver? คุณลักษณะของสัญญาณต้องมีดังต่อไปนี้

·         - มีค่าความแม่นยำที่สูง (Frequency Accuracy) และมีความเสถียรสูง (Frequency Stability) สัญญาณที่ได้จาก GNSS Receiver เป็นสัญญาณที่ได้มาจากการ Synchronize กับดาวเทียม GPS จึงเป็นสัญญาณที่มีคุณภาพสูงเพียงพอที่จะนำมาใช้งาน

·         - มีค่าคาบเวลาแม่นยำสูง (Timing Accuracy) เพราะในกระบวนการ จะต้องซิงค์เวลา ให้สัมพันธ์กัน อุปกรณ์ส่งสัญญาณจะต้องไม่ส่งสัญญาณชนกัน ในขณะที่อุปกรณ์ตัวอื่นส่งสัญญาณอยู่

·         - มีค่าความคลาดเคลื่อนทางเฟสต่ำ (Low Phase Noise) ซึ่งเป็นความต้องการต้นๆ สำหรับอุปกรณ์ Modulation

·         - มี่ค่าสัญญาณรบกวนต่ำ (Low Spurious)


ด้วยคุณสมบัติต่างๆที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่า GNSS Receiver เป็นอุปกรณ์สร้างสัญญาณอ้างอิงคุณภาพสูง ที่จะขาดไม่ได้เลยในระบบ ดิจิตอล ทีวี






























ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399,090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

วิธีการหาค่าพิกัด Latitude, Longitude จาก Google เพื่อช่วยในการติดตั้ง Main Master Clock

- เข้าไปที่ www.Google.co.th จาก browser คลิกที่ App ตามรูปแล้วเลือกไปที่ Maps




















- หลังจากเข้ามาแล้ว สามารถค้นหา สถานที่ที่ต้องการได้โดยพิมพืชื่อสถานที่ในช่องค้นหา
ในที่นี้สมมุติว่าค้นหาพิกัด Telescience Singapore Pte Ltd. ตามรูปด้านล่างนี้















- เมื่อพอสถานที่ที่ต้องการแล้ว ให้คลิกขวาที่ตำแหน่งนั้น " What's here? " ตามรูปด้านล่างนี้




















- เมื่อเลือกแล้วจะปรากฎลูกศรสีเขียวขึ้นมาในช่องค้นหา และจะปรากฎพิกัดในรูปแบบ Decimal Time
หากต้องกาารแสดงพิกัดในรูปแบบ Hour Minutes and Seconds ให้คลิกลูกศรสีเขียวเพื่อแสดง ตามรูปด้านล่างนี้













ซึ่งในการติดตั้ง Main Master Clock ในครั้งแรกนั้น ถ้าใส่พิกัดให้กับ Main Master Clock ที่ตั้งอยู่หรือพิกัดที่ใกล้เคียง จะช่วยทำให้ตัว Main Master Clock เองสามารถ Sync เวลาได้ไวขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาให้ Main Master Clock ค้นหาพิกัดเอง ซึ่งจะกินเวลานาน บางครั้งอาจจะนาน 2-3 ชั่วโมงเลยทีเดียว

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

GNSS Application: Master Clock system

จากบทความที่แล้ว ได้กล่าวเกริ่นนำถึงระบบ GNSS แล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงการประยุกต์ใช้งาน GNSS โดยลำดับแรกจะพูดถึงระบบนาฬิกา Master Clock

Master Clock เป็นระบบที่มีความสำคัญที่มีนำไปใช้เป็นส่วนประกอบ ในการปฏิบัติการของหลายๆระบบ หลายๆหน่วยงาน ได้แก่

·        - ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า สนามบิน
·        - ภาคธุรกิจ เช่น บริษัทเอกชน ธนาคาร ตลาดหุ้น  
·        - ภาคการผลิต เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า
·        - หน่วยงานอื่นๆ เช่น โรงพบาบาล สถานศึกษา

สถานที่ต่างๆเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีความต้องการ ระบบเวลาที่มีความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งระบบเวลาที่มีความเที่ยงตรงก็จะทำให้การปฏิบัติการต่าง มีประสิทธิภาพที่สูงสุด

ตัวอย่างเช่น สถานีรถไฟ ตามเมืองใหญ่ๆในต่างประเทศ การตรงต่อเวลามีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เพราะการรักษาเวลา จะถูกนำไปประมวลผลเป็นค่าดัชนีของการปฏิบัติการ ว่าถูกต้องตรงตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ยอมรับ หรือต่ำกว่ามาตรฐาน  นอกจากนั้นการรักษาเวลาไม่ใช่มีความสำคัญในแง่ของการประเมินผลงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ลื่นไหลและไม่เกิดการสะดุดติดขัด



ระบบรถไฟฟ้า ในประเทศไทย ก็ได้มีการติดตั้งระบบ Master Clock เพื่อใช้งาน โดยทั้วไปที่มองเห็นกันตามปกติก็คือ นาฬิกา ที่ติดตั้งอยู่บริเวณชานชาลา ในแต่ละสถานี ถ้าสังเกตจะพบว่า เข็มของนาฬิกาทุกตัวเดินตรงกันหมด


และระบบ Master Clock ของรถไฟฟ้า ยังครอบคลุมไปถึง ฐานเวลาของระบบสื่อสาร (Frequency Reference) และเวลาของระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ (Network time stamps)

สัญญาณเวลาที่ใช้ในระบบ Master Clock
สัญญาณเวลาที่มีการใช้งานสำหรับ ระบบนาฬิกามีหลายหลายชนิด โดยระบบที่มีการใช้งานแพร่หลายมีดังต่อไปนี้

1. Minute pulse, 24V
เป็นระบบเก่าแก่ เป็นสัญญาณที่มีเพียง impulse 24 V ส่งออกมาทุก 1 นาที ไม่มีข้อมูลของเวลา  Minute pulse เป็นระบบที่มีการพัฒนา BRILLIE มาตั้งแต่ปี 1897 (ศตวรรษที่ 19) มีการใช้งานที่ง่ายไม่ซับซ้อน เพียงต่อสาย 2 wire มาที่ตัวนาฬิกา ก็ใช้งานได้แล้ว

นาฬิกาแสดงเวลา จะเดินทุก 1 นาทีตามสัญญาณ input ซึ่งหมายความว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เช่นไฟดับไประยะหนึ่งแล้วไฟกลับมา นาฬิกาอาจแสดงเวลาผิดพลาดได้
ระบบนี้จะมีการเริ่มต้นใหม่ (Reset) เพียงวันละ 1 หรือ 2 ครั้งต่อวันเท่านั้น เช่น Reset ที่เวลาเที่ยงคืน

2. IRIG Time Code (Inter Range Instrumentation Group)
เป็นระบบที่พัฒนาและใช้งานในสมัยปัจจุบัน เป็นระบบที่มีการใช้งานแพร่หลาย สัญญาณ IRIG เป็นสัญญาณมีข้อมูลของเวลาจ่ายออกมา ในแบบ real time คือเป็นเวลาปัจจุบัน ต่อเนื่องกันไป (ข้อมูลเวลาอยู่ในรูปแบบ binary) ซึ่งหมายความว่า นาฬิกาและอุปกรณ์ใดๆ ที่รับเวลาจากสัญญาณ IRIG จะได้รับข้อมูลเวลาที่สมบูณ์ ซึ่งรวมถึง วัน ชั่วโมง นาที วินาที

เมื่อนาฬิกาได้รับสัญญาณ ก็จะทำการประมวลผล โดยถอดรหัสแปลงข้อมูล binary กลับเป็นเวลาปัจจุบัน และแสดงเวลาที่ถูกต้อง จึงมีความแม่นยำไม่มีความผิดพลาดของเวลา ไม่ว่ากรณีใดๆ เช่น หลังจากไฟดับ เมื่อไฟกลับมา ก็จะสามารถแสดงเวลาที่ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ



การใช้งานนาฬิกา ของระบบ IRIG ก็คล้ายคลึงกับการใช้ในระบบ Minute pulse จะใช้โครงข่ายที่เหมือนกัน คือต่อสายสัญญาณโดยใช้สาย 2 wire จะมีเพิ่มเติมก็เพียงแค่ การต่อไฟเลี้ยง 220V ให้กับตัวนาฬิกา

3. NTP (Network Time Protocol)
เป็นระบบที่ใช้งานต่อผ่านระบบ Network ได้แก่ Ethernet 10/100Base-T สัญญาณที่ใช้อยู่ในรูปแบบของ internet packet โดย NTP packet มีขนาดที่เล็กมาก เพียง 64 bit

NTP เป็นระบบทีมีความสมบูรณ์ คือมีการจ่ายข้อมูลเวลาปัจจุบัน ให้กับอุปกรณ์ปลายทาง รวมถึงยังมีการตรวจสอบความคลาดเคลื่อน ว่าอุปกรณ์ปลายทางที่รับสัญญาณ มีเวลาเป็นอย่างไร ถ้ายังมีความคลาดเคลื่อนเกินค่ากำหนด ก็จะปรับเวลาต่อเนื่องต่อไปอีก จนกว่าเวลาของอุปรณ์ปลายทาง (เช่นนาฬิกา) จะมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ในมาตรฐานที่ไม่เกิน 10 ms
จะเห็นว่าการทำงานของ NTP เป็นไปในลักษณะ client-server ซึ่งจะเหนือกว่า IRIG Time Code เพราะสัญญาณ IRIG เป็นเพียงการจ่ายสัญญาณออกไปยังอุปกรณ์ปลายทาง เพียงทางเดียว (IRIG จ่ายสัญญาณในลักษณะ simplex หรือ broadcast ไปยังปลายทาง)

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร 
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด 
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

Global Navigation Satellite Systems (GNSS)





จากในอดีตที่เรารู้จัก และคุ้นเคยกันกับระบบ GPS ปัจจุบันเทคโนโลยี่ด้านนี้ ได้มีการพัฒนาไปในลัษณะที่ขยายขอบเขตมากขึ้น การพัฒนาระบบ Positioning Navigation and Timing ได้มีการรวมตัวกันจาก เทคโนโลยี่ทั้งทางฝั่งอเมริกา ยุโรป รัสเซีย จนถึงจีน และได้มีชื่อเรียกเป็นระบบกลางคือ “Global Navigation Satellite Systems” หรือที่เรียกย่อว่า GNSS โดยระบบที่มีการใช้งานปฏิบัติการใช้งานสมบูรณ์เต็มรูปแบบแล้ว ได้แก่ GPS (อเมริกา) และ GLONASS (รัสเซีย) และระบบที่อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นการใช้งานเต็มรูปแบบคือ Galileo (สหภาพยุโรป) และ Compass (จีน ชื่อระบบเดิม BeiDou)

สำหรับ Galileo และ Compass มีแผนการพัฒนาให้ใช้งานได้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบภายในปี 2020


สัญญาณ GPS ที่ส่งออกมาจากระบบดาวเทียม จะมีการใช้งานทั้งทางด้านการทหาร และทางด้านพลเรือนทั่วไป สำหรับสัญญาณที่นำมาใช้สำหรับกิจการพลเรือนทั่วไป จะใช้ในย่านความถี่ L1 โดยมีค่าความถี่กลางที่ 1575.42 MHz

สัญญาณ GPS โดยปกติจะเป็นสัญญาณแบบ Line of Sight ซึ่งหมายความว่า เสารับสัญญาณหรือเครื่องรับจะต้องอยู่ในลักษณะมองเห็นฟ้า ไม่มีอะไรมาบดบัง ซึ่งเรามาสามารถเทียบเคียงได้กับเครื่องรับ GPS ที่ใช้นำทาง ผู้ใช้จะต้องติดตั้งอยู่ที่หน้ากระจกรถยนต์ เพื่อรับสัญญาณ






นอกจากนั้นสัญญาณ GPS เป็นสัญญาณที่มีการเข้ารหัส โดยใช้เทคโนโลยี่แบบ Spread Spectrum ที่มีพื้นฐานเดียวกันกับระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ทำให้สัญญาณที่ได้รับ มีคุณภาพสูง แม้ว่าสัญญาณที่ได้รับจะมีพลังงานต่ำ แต่ก็ยังสามารถนำมาถอดรหัสและประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความถี่ของ GPS L1 ยังมีค่าความถีที่ไม่สูงเกินไป ซึ่งถ้าเทียบกับระบบโทรศัพท์ เช่น GSM 1800MHz หรือ 3G 2100MHz สัญญาณ GPS L1 ยังมีความถี่ต่ำกว่าสัญญาณโทรศัพท์อีก

ดังนั้น สัญญาณ GPS L1 จึงแตกต่างจากสัญญาณดาวเทียมอื่นๆ เช่น Ku Band และจะไม่ได้รับผลกระทบจากฝนตกเหมือนกับ สัญญาณ Ku Band ที่ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อฝนตก

ผู้ผลิตและพัฒนาระบบอย่าง Spectracom นับเป็นรายแรกในวงการ ที่ได้ริเริ่มการผลิตอุปกรณ์ GPS Time & Frequency Server ที่รับสัญญาณดาวเทียมแบบ Dual Systems ขึ้น คือตัวอุปกรณ์ server สามารถรับสัญญาณและประมวลผลทั้งระบบ GPS และ GLONASS ได้ในเวลาเดียวกัน

ทั้งนี้สิ่งที่เป็นแรงส่งเสริมให้ Spectracom เป็นผู้ผลิต Dual Systems สำเร็จเป็นรายแรก คือ Spectracom มีโรงงานการผลิตและวิจัยอยู่ทั้งในฝั่งอเมริกาและยุโรป ได้แก่ที่เมือง Rochester (USA) Les Ulis (France) และ Basingstoke (UK) Spectracom จึงได้นำเทคโนโลยี่ ที่มีอยู่จากทั้งสองทวีป อเมริกาและยุโรป มาพัฒนาร่วมกันได้รวดเร็ว ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับผู้ผลิตคู่แข่งรายอื่นๆแล้ว บริษัทคู่แข่งทั้งหลาย มีฐานการผลิตตั้งอยู่เพียงภายในประเทศเดียวเท่านั้น เช่น บริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือบริษัทในประเทศเยอรมันนี Spectracom จึงเป็นบริษัทที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี่ด้าน Positioning Navigation and Timing รวดเร็วกว่าบริษัทใดๆ

สามารถติดต่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับระบบ Clock System, ระบบ Main Master Clock, ระบบ Sub Master Clock, GPS Time server, NTP Server, Time Server, ร่าง TOR ระบบ Clock system ทางเรายินดีให้คำปรึกษาในทุกเรื่อง

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399, 090279-2501
www.netsync.co.th

Read more

ติดตั้ง NTP Server ที่กรมการขนส่งทางบก ( DLT ) ตอนที่2

เรามาต่อจากตอนที่ 1 ครับ


4)        ลากวางสายนำสัญญาณจากภายนอกอาคาร (ผ่านช่องที่เจาะตามแนวท่อเดิม) เข้าภายในอาคาร
รูปที่ 5 แสดงพื้นที่ปฏิบัติงาน

รูปที่ 6 แสดงแนวท่อนำสายสัญญาณเมื่อเสร็จสิ้นการติดตั้ง


จากรูปที่ 6 สายนำสัญญาณ ที่ต่อเข้ามาจากภายนอกอาคาร จะลากวางอยู่ใต้พื้นยกระดับตามแนวท่อเดิมที่มีอยู่ โดยเดินท่อร้อยสาย (ท่อ Flexible) เข้าไปยังห้องอุปกรณ์ NTP Server ที่ติดตั้งไว้แล้ว 

รูปที่ 7 แสดงแนวท่อนำสายสัญญาณภายในห้องอุปกรณ์
รูปที่ 8 แสดงแนวท่อนำสายสัญญาณด้านหลังเครื่อง NTP Server
รูปที่ 9 แสดงสายนำสัญญาณภายในท่อร้อยสาย (ท่อ Flexible)
ที่ต่อเข้ามาจากภายนอกอาคาร ลากวางตามแนว
Cable Tray
รูปที่ 10 สายนำสัญญาณที่ถูกต่อเข้าหลังเครื่อง NTP Server

จากรูปที่ 11 สายนำสัญญาณที่ออกมาจากท่อร้อยสาย (ท่อ Flexible) ถูกต่อเข้ากับตัวกันฟ้าผ่า (Lightning Arrestor) และต่อเข้าที่หลังเครื่อง NTP Server

5)        เมื่อติดตั้งสายนำสัญญาณ เรียบร้อยแล้ว ได้ทำการ Configuration ค่า Parameters ต่างๆ ทำให้ NTP Server สามารถรับเวลาจาก GPS และจ่ายเวลาให้เครื่อง Clients ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
รูปที่ 12 แสดง NTP Server หลังทำการติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS,
และ
Configuration ค่า Parameters ต่างๆ ของ NTP Server เรียบร้อยแล้ว
รูปที่ 13 แสดงทัศนีภาพภายนอก

เสาอากาศรับสัญญาณ GPS และสายสัญญาณดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา เสาอากาศรับสัญญาณ GPS ในอนาคตอีกด้วย

หลังการติดตั้งเสร็จสิ้นได้มีการตรวจเช็คเก็บรายละเอียดของงาน โดยได้มีการใช้ซิลิโคนอุดรอยเจาะที่ร้อยสายจากภายนอกมายังภายใน เพื่อป้องกันน้ำและสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปภายในตัวอาคาร และเคลือบสีให้กับหัวน๊อตและอุปกรณ์ทุกชิ้น เป็นสีขาว เพื่อป้องกันการเกิดสนิม

จะเห็นได้จากทางบริษัท เทเลไซน์ (ไทยแลนด์) จำกัด จะตั้งใจทำงานทุกขั้นตอนเพื่อให้งานทุกอย่างออกมาดี ทางบริษัทฯ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกเรื่องที่เกียวข้องกับระบบ Clock System, Main Master Clock, Sub Master Clock, Digital Clock, Analog Clock, NTP Server, GPS NTP Server, TIme Server, Digital Analog Clock, ร่าง TOR ของ Clock System, ติดต่อได้ที่

K. ยุทธนา มณีพร  (โทรมาได้ตลอดเวลา)
Tel: 089-1366399, 090-279-2501

Read more

ติดตั้ง NTP Server ที่กรมการขนส่งทางบก ( DLT ) ตอนที่1


หลังจากที่ได้มีการสำรวจแนวทางการติดตั้ง NTP Server ไปก่อนหน้านี้ ทางบริษัทฯได้เสนอแผนการติดตั้งให้กับ กรมการขนส่งทางบกพิจารณา เพื่ออนุมัติแผนการติดตั้ง 
1)        เมื่อได้รับอนุญาตให้ดำเนินการติดตั้งได้  ได้ดำเนินการ โดยเริ่มการติดตั้งสายนำสัญญาณ GPS จากภายนอกอาคาร โดยกำหนดจุดการติดตั้งเสาอากาศรับสัญญาณ GPS ณ บริเวณชายคาของชั้น 3 และเดินสายสัญญาณตามแนวดิ่ง จากเสาอากาศรับสัญญาณ GPS มายังชั้น 2 ซึ่งเป็นชั้นที่ตั้งของอุปกรณ์ โครงข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึง NTP Server

รูปที่ 1 จุดติดตั้ง เสาอากาศรับสัญญาณ GPS และแนวสายสัญญาณภายนอก


 2)      ท่อร้อยสายสัญญาณ และอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมด ได้ทำการพ่นหรือเคลือบสีให้เป็นสีขาวทั้งหมด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เข้ากับสีของอาคาร ทำให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีความทนทานต่อการเกิดสนิม

รูปที่ 2 เสาอากาศรับสัญญาณ GPS ท่อ และอุปกรณ์ยึดที่เคลือบสีขาวทั้งหมด


3)      สายนำสัญญาณภายนอก ติดตั้งภายในท่อร้อยสาย (Conduit) ตามมาตรฐานการติดตั้ง
รูปที่ 3 แนวสายจากชายคาชั้น 3 ลากลงมายังชั้น 2

รูปที่ 4 แสดงเสาอากาศรับสัญญาณ GPS ที่ติดตั้งเมื่อมองจากหน้าต่างชั้น 3



K. ยุทธนา มณีพร  (โทรมาได้ตลอดเวลา)
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
Netsync(Thailand)Co.,Ltd.
www.netsync.co.th

Read more

ระบบ Clock System กับ ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (RFID)


ขอขอบคุณทางลูกค้าบริษัท V-Smart จำกัด ที่ได้ให้ความไว้วางใจในอุปกรณ์ NTP Server (Time server) ของทางบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์) จำกัด​ ใน ‘’โครงการติดตั้งระบบอิเล็คทรอนิกส์ RFID ด่านภาษีสากลทุกด่าน ของสปป. ลาว”   เพื่อใช้สำหรับการเทียบเวลาของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (RFID) ให้มีความเที่ยงตรง และเท่ากันทั้งระบบ นั้น

โดยที่ทางบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด จะได้เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server(Time Server) ที่ Data center เพื่อใช้สำหรับเป็นจุดอ้างอิงสำหรับการเทียบเวลากับด่านทุกด่านที่จะมีติดตั้งระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(RFID) ที่ด่านมิตรภาพไทย-ลาว 1 เนื่องจากในอนาคต ด่านทุกด่าน จะต้องมีการสอบเทียบเวลากับ อุปกรณ์ NTP Server (Time Server)  ให้เป็นมาตรฐานและตรงกันกับที่ส่วนกลาง Data center เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อที่ให้เวลาของ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทุกเครื่อง รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ที่มีอยูในระบบ มีเวลาตรงกัน และมีจุดอ้างอิงเป็นที่เดียวกัน

สำหรับ “โครงการติดตั้งระบบอิเล็คทรอนิกส์ RFID ด่านภาษีสากลทุกด่าน ของสปป.ลาว” นี้  จะเป็นการประยุกต์เอาเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้สำหรับการชำระภาษี ณ จุดผ่านแดนของ สปป.ลาว ทั้งบุคคลและยานพาหนะต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ให้สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งเป็นการปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี ณ จุดผ่านแดนให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น (ส่วนรูปในการติดตั้งนั้นจะเอามาลงให้ดูตอนติดตตั้งเสร็จนะครับ)

รูป NTP server ยี่ห้อ Spectracom รุ่น SecureSync 

รูป GPS Outdoor Antenna ยี่ห้อ Spectracom รุ่น 8225


หากท่านใดสนใจในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ Clock Systems, System Clock, Master Clock, GPS Time server, NTP Server, Main Master Clock, Sub Master Clock, Time Server สามารถโทรสอบถามได้ที่ผมตลอดเวลานะครับ

ติดต่อได้ที่ คุณยุทธนา

Tel : 089-1366399  
ยินดีให้คำปรึกษาฟรีครับ

Read more

Demo ที่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย


ติดตั้งและทดสอบ NTP Server  (ยี่ห้อ Spectracom รุ่น SecureSync)
ที่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

















ทางเราได้รับการไว้วางใจจากทางลูกค้าให้เข้าไปติดตั้งระบบ Clock System ชั่วคราว เพื่อที่จะจ่ายเวลาอ้างอิงมาตรฐานสากล ให้กับระบบทั้งหมดของทาง บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยทางบริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์) จำกัด จึงได้นำเข้าอุปกรณ์เพื่อมา DEMO กับทางลูกค้า















ซึ่งทางทีมเรามีความชำนาญในระบบ Clock System และมีประสบการณ์ในการติดตั้งกับลูกค้ารายใหญ่ๆ มากมาย ส่วนใหญ่แล้วเราจะเน้นที่ความใส่ใจในลูกค้า แก้ปัญหาต่างรวดเร็ว และช่วยเหลือลูกค้าในทุกด้านเท่าที่จะช่วยได้














ทาง บริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์)จำกัด ยินดีให้คำแนะนำเรื่องระบบ Clock System, ระบบ Master Clock, ระบบ GPS NTP Server, Analog Clock, Digital Clock และเรื่องการติดตั้ง NTP Server ฟรี
รวมให้คำแนะนำในการเขียน Spec, ร่าง TOR ระบบ Clock System ด้วยครับ

ติดต่อได้ที่ คุณยุทธนา  Tel: 089-1366399

Read more