Powered by Blogger.

การลดผลกระทบของ DDoS attack จากพอร์ต NTP

       การอ้างอิงเวลาของระบบเน็ตเวิร์ค เป็นสิ่งสำคัญระดับต้น ๆ ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวกับโครงสร้าง สาธารณูปโภคพื้นฐาน (Critical Infrastructure) เช่น ระบบสื่อสาร ระบบคมนาคม พลังงาน สถาบันการเงิน โดยทั่วไปวิศวกรและผู้ดูแลระบบมักจะมองข้ามความสำคัญของการอ้างอิงเวลามาตรฐาน และรับเวลาอ้างอิงจาก NTP server สาธารณะ ซึ่งการรับเวลา NTP ผ่านอินเตอร์เน็ต ก็สามารถใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง สำหรับการใช้งานพื้นฐานตามบ้านเรือนทั่วไป แต่สำหรับหน่วยงานแล้ว การรับเวลา NTP ผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นช่องโหว่ที่สำคัญจุดหนึ่งในการเข้าโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี เช่น hacker

จากข้อมูลรายงานความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต (Internet Security report) ของ Akamai เมื่อปี 2018 พบว่า การรับเวลา NTP ผ่านอินเตอร์เน็ต มีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับที่สอง จากการถูกโจมตีด้วย DDoS attack โดยพบว่าภายในระยะเวลา 1 ปี มีการโจมตีเพิ่มขึ้นสูงถึง 16% 

ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่าง โครงสร้างของระบบเน็ตเวิร์คที่รับเวลา NTP ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยทั่วไป

ระบบตามแผนภาพด้านบน การรับเวลา NTP ของระบบเน็ตเวิร์คภายในองค์กร จะไปรับเวลามาจากกลุ่มของ NTP server pool จำนวนหลาย ๆ เครื่อง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ server ภายในจะมีขั้นตอนกระบวนการ ออกไปซิงค์เวลาอ้างอิงจาก NTP ภายนอกผ่าน Firewall ซึ่งการเปิดพอร์ต Firewall ดังกล่าวนี่เอง เป็นช่องโหว่ให้บรรดา hacker สามารถผ่านเข้ามาโจมตีระบบเน็ตเวิร์คภายในทั้งหมดได้ และถึงแม้ว่าจะใช้งาน Firewall ร่วมกับระบบป้องกันความปลอดภัยอื่น ๆ เช่น IDS (Internet Detection System) หรือ IPS (Internet Prevention System) ตราบใดก็ตาม ที่ยังมีการเปิดพอร์ต ก็จะมีช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามายังภายในได้

นอกจากนั้นคุณภาพของเวลาอ้างอิงที่ได้ ยังมีคุณสมบัติความเที่ยงตรงและความแม่นยำที่ไม่สูงนัก เนื่องจากกระบวนการซิงค์ NTP จากอินเตอร์เน็ตซึ่งต้องผ่านช่องทางสาธารณะ (public network) ค่าความผันแปรของ network latency และค่าผันแปรอื่น ๆ ไม่คงที่ โดยจะแปรเปลี่ยนไปตาม traffic ในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นเวลาที่ได้รับ จะมีโอกาสคลาดเคลื่อนไปจากเวลามาตรฐานได้

การที่จะลดความเสี่ยงของการถูกโจมตีด้วย DDoS จากพอร์ต NTP จะสามารถทำได้ด้วยการ ปิดพอร์ตการใช้งาน NTP จากอินเตอร์เน็ต 

ภาพที่ 2 แผนภาพการติดตั้ง NTP ของตัวเอง สำหรับโครงข่ายที่มีความมั่นคงปลอดภัย (Resilient Network)


การติดตั้ง NTP ภายในโครงข่ายของตัวเอง จะไม่ต้องไปพึ่งพิงการรับเวลาจากภายนอก ซึ่ง NTP server จะรับสัญญาณเวลาอ้างอิงมาตรฐาน จากระบบดาวเทียม GNSS ซึ่งจะมีค่าเวลามาตรฐาน ที่ถูกต้องแม่นยำสูงมาก โดยมีค่า accuracy ที่ดีในระดับถึง nano-second ทีเดียว และเมื่อจ่ายเวลาผ่าน NTP ให้กับเน็ตเวิร์คภายใน ก็สามารถรับประกันได้ว่า ค่าความแม่นยำที่ได้รับ จะอยู่ในระดับ Stratum 1 ตามมาตรฐาน หรือถ้ามีการใช้งานผ่านโปรโตคอลอื่นที่ดีขึ้น เช่น PTP การรับเวลาก็จะได้ความถูกต้องแม่นยำของเวลา ในระดับ micro-second


ข้อดีอื่น ๆ ของการติดตั้ง NTP ภายในหน่วยงานตัวเอง จะมีอีก ได้แก่

1. ความมั่นคงปลอดภัย (Resiliency) NTP ของ Orolia รุ่น SecureSync สามารถรองรับสัญญาณ GNSS หลากหลายชนิด ได้แก่ GPS  GLONASS  Galileo  BeiDou  QZSS และนอกจากนั้นภายในเครื่อง ยังมีวงจรสังเคราะห์ความถี่ภายใน (Oscillator) ที่มีความแม่นยำสูง ในกรณีที่ NTP ไม่สามารถรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ได้ เครื่องก็จะทำงานในแบบของ Holdover คือใช้เวลาจาก Oscillator ภายในเครื่องเป็นฐานเวลาแทนสัญญาณดาวเทียม



จากตาราง ถ้าเลือก Oscillator ชนิด OCXO ค่าความคลาดเคลื่อนของเวลา เมื่อเครื่อง NTP ขาดการรับสัญญาณดาวเทียมผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง ความผิดพลาดของเวลา ยังมีค่าไม่เกิน 25 micro-second ซึ่งดีกว่าการไปรับเวลาจาก Stratum 2 มากหลายเท่านัก

 

2. ความปลอดภัยของ สัญญาณดาวเทียม (RF Signal Security) NTP ของ Orolia รุ่น SecureSync มีคุณสมบัติที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติม ระบบระวังป้องกันภัยจาก การรบกวนสัญญาณดาวเทียม GNSS Jamming และสัญญาณปลอม Spoofing โดยสามารถเลือกซื้อ Option Anti Jamming & Spoofing ได้ เพื่อเป็นการรับประกันว่า ระบบเวลาของ NTP จะมีความถูกต้องแม่นยำ ใช้งานได้ต่อเนื่องโดยปราศจากการล้มเหลว

รายละเอียดของ Jamming & Spoofing สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก 

https://netsyncforum.blogspot.com/2018/08/gnss-jamming-and-spoofing.html


3. สัญญาณเวลา และความถี่มาตรฐานอื่น ๆ นอกจากจะมีการจ่ายเวลามาตรฐาน NTP แล้ว NTP ของ Orolia รุ่น SecureSync ยังรองรับการจ่ายเวลาผ่านโปรโตคอล PTP โดยจ่ายเวลาอ้างอิงมาตรฐานความแม่นยำระดับ nano-second สามารถจ่ายเวลาแบบ IRIG โดยจ่ายเวลาผ่าน serial interface หรือ coaxial cable และในส่วนของความถี่มาตรฐาน เครื่องก็รองรับการจ่ายสัญญาณ 1PPS และ 10MHz ด้วย 

การติดตั้ง NTP server ภายในหน่วยงานของตนเอง จึงเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับเน็ตเวิร์ค และยังจะได้ความแม่นยำของเวลามาตรฐานภายในโครงข่ายถูกต้องตรงตามข้อกำหนด

ต้นฉบับของบทความนี้ แปลและรวบรวมมาจากลิงค์ต่อไปนี้

https://www.orolia.com/mitigating-an-ntp-distributed-denial-of-service-ddos-attack/


บริษัท NetSync (Thailand) Limited มีความยินดีที่จะให้คำปรึกษาเรื่องระบบ Master Clock, NTP Server, Time & Frequency system


ติดต่อ คุณยุทธนา  Tel: 089-136 6399

info@netsync.co.th    

yutthana@netsync.co.th




Read more

GPS Repeater

GPS Repeater มีความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะมาอธิบายกัน 

สัญญาณ GPS หรือ GNSS เป็นสัญญาณจากระบบดาวเทียม สำหรับการใช้ในเรื่องของการบอกพิกัด การนำทาง และสัญญาณอ้างอิงเวลามาตรฐาน โดยปกติสัญญาณ GNSS จะต้องการการรับสัญญาณ ในลักษณะของ Line of Sight คือตัวสายอากาศ จะต้องรับสัญญาณโดยตรงจากท้องฟ้า ไม่มีสิ่งบดบังใด ๆ 

โดยสิ่งบดบังที่มีผลที่จะบล็อกสัญญาณ GNSS ได้ จะเป็นวัสดุที่มีมวลหนาแน่น เช่น โลหะ ซีเมนต์ คอนกรีต ดังนั้นโดยทั่วไป เราจะเห็นว่าตำแหน่งติดตั้งสายอากาศ GNSS antenna มักจะเป็นที่โล่ง ที่ไม่อยู่ภายใต้หลังคาหรือชายคา


ในบางครั้งที่เราต้องการรับสัญญาณ GNSS เพื่อทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นการทดสอบ GNSS receiver ในห้องทดลอง ซึ่งตัวรับสัญญาณ อยู่ภายในอาคาร หรืออยู่ในห้องควบคุม เราจะต้องหาวิธีการ ที่จะนำสัญญาณดาวเทียมของจริง ณ เวลาปัจจุบัน (Live GNSS Signal) ให้สามารถมาแพร่สัญญาณ ภายในอาคาร ความต้องการดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการนำระบบ GPS repeater มาประยุกต์ใช้งาน



ภาพตัวอย่างจาก www.gpssource.com/ การใช้งาน GPS repeater สำหรับโรงซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน และยานพาหนะ

ซึ่งโดยปกติโรงซ่อมบำรุง จะเป็นบริเวณปิด เพื่อป้องกันสภาพอากาศให้เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ลองคิดดูว่าถ้าหากเราไม่สามารถนำสัญญาณดาวเทียมของจริง เข้ามาทดสอบได้ ทุกครั้งที่เราต้องการทดสอบ เราจะต้องเคลื่อนย้าย อากาศยาน และยานพาหนะจริง ออกจากโรงซ่อมเพื่อไปรับสัญญาณดาวเทียม ย้ายออกย้ายเข้า

 

โดยระบบ GPS repeater จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้



  1. สายอากาศรับสัญญาณ ติดตั้งภายนอก 
  2. สายนำสัญญาณ 
  3. ตัวแพร่กระจายสัญญาณ GPS repeater


ภาพแสดงตัวอย่าง การรับสัญญาณ GPS ภายในห้องทดลอง ที่ได้ติดตั้ง GPS repeater 

เมื่อมีการติดตั้ง GPS repeater และทำการปรับแต่งความแรงของสัญญาณ GPS repeater จะทำการแพร่สัญญาณ GPS / GNSS ภายในบริเวณ ที่ต้องการทดสอบสัญญาณ โดยสัญญาณที่ได้รับ จะเป็นสัญญาณเสมือนจริง ทั้งคุณภาพสัญญาณ และระดับความแรงของสัญญาณดาวเทียม เหมือนกับว่าเราได้นำ GPS receiver ออกไปรับสัญญาณดาวเทียมจริง ในที่โล่งเห็นท้องฟ้า

โดยบริษัท ได้มีการติดตั้งระบบ GPS repeater ให้กับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่สำคัญหลายแห่งทั้งในหน่วยงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาออกแบบอุปกรณ์ และโรงงานผู้ผลิตตัวรับสัญญาณ GNSS เพื่อใช้งานกับผู้ประกอบรถยนต์รายใหญ่ในประเทศ 

การติดตั้งที่ผ่านมา เราใช้อุปกรณ์จาก GPS Source ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตและออกแบบระบบ GPS repeater เป็นรายแรกของโลก และปัจจุบัน GPS Source เป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมนี้


ตัวอย่างรุ่นของระบบ GPS repeater

https://www.gpssource.com/collections/repeater-assemblies/products/gpsrkl1-l1-gps-repeater-assembly


ซึ่งการใช้งานระบบ GPS repeater จะใช้งานหลักเพื่อทดสอบการรับสัญญาณดาวเทียม ของ GNSS receiver แต่จะไม่สามารถทดสอบในลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากสายอากาศรับสัญญาณภายนอกติดตั้งอยู่กับที่ บริเวณดาดฟ้า ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว

โดยการออกแบบของบริษัท จะมีการคำนวณคุณลักษณะสำคัญ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเพื่อให้ได้ค่าสัญญาณแพร่ออกจาก GPS repeater ให้อยู่ในระดับที่เท่ากันการรับสัญญาณจากท้องฟ้าจริง โดยคำนวณ Link Budget Calculation จากอุปกรณ์ทุกตัวในระบบ ความยาวสายสัญญาณ และ ความลดทอนสัญญาณจาก Free Space Path Loss มาคำนวณ

ลูกค้าท่านใด มีความต้องการติดตั้งระบบ GPS repeater เพื่อทดสอบ GNSS receiver สามารถติดต่อบริษัท เรามีวิศวกรออกแบบ และสามารถตอบคำถามให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบ GNSS repeater ที่ท่านจะได้รับ จะมีประสิทธิภาพใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

ติดต่อ
คุณยุทธนา Tel: 089-136 6399

info@netsync.co.th

yutthana@netsync.co.th


Read more

GPS Jamming Detection Now Standard on SecureSync NTP

             ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยี GPS ได้กลายเป็น application พื้นฐาน ที่เราได้ใช้ในชีวิตประจำวันกันทุกวัน เวลาที่ผู้เขียนได้มีการใช้รถบนท้องถนน หลายครั้งก็ได้ใช้ GPS สำหรับการนำทาง ไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมาย และได้เห็นผู้ใช้รถใช้ถนนหลาย ๆ คน เช่น พนักงานส่งสินค้า เปิดโปรแกรม GPS บนโทรศัพท์เพื่อหาเส้นทางไปส่งสินค้าให้ลูกค้า

เทคโนโลยี GPS ยังได้มีการนำมาใช้ สำหรับในการติดตามรถ ได้แก่อุปกรณ์ประเภท GPS tracker ซึ่งกรมการขนส่ง ได้มีการประกาศกฎกระทรวง ในเรื่องของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ โดยบังคับใช้กับรถยนต์สารธารณะทุกประเภท เพื่อควบคุมความปลอดภัย จำกัดความเร็วของยานพาหนะไม่ให้เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อรถที่ติดตั้ง GPS tracker ดังกล่าวขับขี่เกินความเร็วที่กำหนด ก็จะมีสัญญาณแจ้งเตือนไปยังกรมการขนส่ง แต่ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ พนักงานขับรถหรือผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะมีการทำงานแข่งกับเวลา ต้องการทำความเร็วเพื่อรับงานให้ได้มากที่สุด จึงหาวิธีหลีกเลี่ยงการควบคุมความเร็ว โดยใช้อุปกรณ์ GPS jammer เพื่อทำการตัดสัญญาณ GPS ในขณะที่มีการขับรถด้วยความเร็วเกินกว่าที่กำหนด GPS jammer ดังกล่าวนอกจากจะตัดสัญญาณ GPS ในรถที่ติดแล้ว ก็ยังส่งผลไปรบกวน เครื่องรับ GPS ในบริเวณใกล้เคียงให้ทำงานไม่ได้ด้วย

สัญญาณดาวเทียม GPS เมื่อส่งออกมาจากตัวดาวเทียม ผ่านระยะทางมากว่า 20,000 กิโลเมตร และเมื่อสัญญาณแพร่มาถึงพื้นผิวโลกความแรงของสัญญาณอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เพียงแค่ -130 dBm ดังนั้น GPS jammer ตัวเล็ก ๆ ขนาดกำลังส่งที่ไม่สูงนัก เช่น แค่ 100 มิลลิวัตต์ ก็ยังสามารถรบกวน หรือกลบสัญญาณดาวเทียมได้สนิท โดย GPS jammer ที่มีความแรง 0.5 วัตต์ สามารถตัดสัญญาณ GPS ไปได้ไกลมากกว่า 50 – 80 เมตร จึงไม่น่าแปลกใจว่า บางครั้งขณะที่เราใช้งานเครื่องรับ GPS เพื่อนำทาง อยู่ดี ๆ เครื่องรับก็เกิดอาการรวนใช้งานไม่ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา GPS jammer เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามขายและห้ามใช้งาน

GPS jammer ส่งผลให้การรับสัญญาณดาวเทียม GPS ผิดพลาดไป ไม่เพียงแค่ในเรื่องของการใช้งานนำทาง แต่ยังรบกวนการทำงานของ NTP server ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักสำหรับการจ่ายเวลาอ้างอิง สำหรับระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบธุรกรรมทางการเงิน ระบบควบคุมสาธารณูปโภคไฟฟ้า

ซึ่งตามปกติเมื่อ NTP server ไม่สามารถรับสัญญาณดาวเทียม เครื่องก็จะใช้ความถี่ที่สังเคราะห์จากภายในตัวเครื่องเอง เป็นฐานความถี่ของเวลาอ้างอิง แต่ถ้าหากมีการรบกวนการรับสัญญาณเกิดขึ้นต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ๆ ค่าความคลาดเคลื่อนของความถี่อ้างอิงเวลาเกินค่า threshold ที่กำหนดไว้ NTP server ก็จะยกเลิกการจ่ายเวลา

ดังนั้นในระบบที่มีความสำคัญต่อการบริการสาธารณะ เช่น ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบธุรกรรมการเงิน การที่ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการต่าง ๆ ในระบบโครงข่าย ระบบใดระบบหนึ่งทำงานผิดปกติไป แม้เพียงแค่ช่วงเวลาเล็ก ๆ ก็อาจจะส่งผลให้การทำงานของระบบที่ให้บริการสาธารณะปลายทางผิดพลาดไปได้ ตัวอย่าง เช่น ในขณะที่กำลังกดเงินจากตู้ ATM แล้วระบบสื่อสารเกิดขัดข้อง ยอดเงินถูกตัดออกจากบัญชีแล้ว แต่เงินไม่ไหลออกมา หรืออย่างกรณีขณะที่ลงทะเบียนการใช้สิทธิ์ผ่านสมาร์ทโฟนแล้วระบบโทรศัพท์เกิดขัดข้อง ทำให้การลงทะเบียนไม่ผ่าน

โดยในทางปฏิบัติ ถึงแม้ว่า NTP server จะไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้ระบบบริการสาธารณะที่ยกตัวอย่างมาล้มเหลว แต่ก็จะเป็นการดี ถ้าหากว่า NTP server ทำงานได้โดยไม่เกิด down time ขึ้นเลย ซึ่งผู้ดูแลระบบทุกคนย่อมต้องการระบบที่มีความเสถียรปราศจากการสะดุดบกพร่องใด ๆ

ปัจจุบัน NTP Server รุ่น SecureSync จาก Orolia ที่ส่งมอบให้ลูกค้า ได้มีการติดตั้ง ระบบตรวจสอบการรบกวนสัญญาณ Jamming Detection ซึ่งเป็นระบบที่มีการคิดค้นพัฒนาการใช้งานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2008 โดย Talen-X ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว ในอดีตเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในด้านความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติจะไม่สามารถส่งมอบ ออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกาได้ จะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาทุกโครงการ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เทคโนโลยีทางด้านความมั่นคงหลุดออกไปยังประเทศที่ไม่เป็นมิตร หรือประเทศคู่แข่ง

โดย Jamming Detection จะช่วยให้ผู้ใช้งาน NTP Server รุ่น SecureSync มีความมั่นใจในระบบ NTP ของตน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า ในช่วงเวลาใด ๆ ที่เครื่อง NTP server เกิดเหตุ เช่น รับสัญญาณดาวเทียมไม่ได้ ก็จะได้รับรู้ว่า สาเหตุที่เกิดขึ้นเกิดมาจากการที่สัญญาณดาวเทียมลดลงโดยธรรมชาติ หรือว่าเกิดจากการรบกวนโดย GPS Jammer ซึ่งมาจากการรบกวนของยวดยานพาหนะ หรือการรบกวนที่มาจากฝีมือมนุษย์ที่ตั้งใจรบกวนระบบ


ภาพแสดงสัญญาณในขณะปกติ


ภาพแสดงสัญญาณเมื่อเกิดการรบกวนจาก GPS Jammer


Jamming Detection จะตรวจพบการรบกวน และทำให้ผู้ใช้งานรับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากว่า สัญญาณดาวเทียมถูกรบกวนโดย GPS Jammer ก็จะได้หาวิธีการป้องกันต่อไป เช่น เมื่อทราบว่าสายอากาศ GNSS antenna อยู่ในตำแหน่งที่เปราะบาง โดนรบกวนได้ง่าย ก็อาจจะเปลี่ยนไปใช้ Anti Jamming Antenna หรือย้ายตำแหน่งสายอากาศให้พ้น ไม่อยู่ในแนวที่จะโดนรบกวนจากฝีมือมนุษย์ที่จงใจรบกวน 

NTP Server รุ่น SecureSync ทุกเครื่องที่ผ่านการอนุมัติให้ติดตั้ง Jamming Detection จะเป็นอุปกรณ์ NTP sever ที่มีความปลอดภัยสูง และที่สำคัญ option ดังกล่าวจะมีการติดตั้งให้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งการขออนุมัติติดตั้ง ก็ทำได้ง่ายเพียงลูกค้า ส่งยื่นแบบฟอร์มเพื่อขอพิจารณาได้ ในขั้นตอนการสั่งซื้อปกติ

โดยปกติ Orolia ซึ่งเป็นผู้ค้าคู่สัญญาด้านยุทโธปกรณ์ กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ต้องยื่นเรื่องเพื่อขอทำการส่งมอบ NTP Server ทุกเครื่องออกนอกประเทศอยู่แล้ว (ระบบ Export Control) การขออนุมัติติดตั้ง Jamming Detection จึงเป็นเหมือนขั้นตอนที่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกหนึ่งขั้นตอน ซึ่งลูกค้าที่กรอกข้อมูลให้รายละเอียดของโครงการและข้อมูลการนำไปใช้งานครบถ้วน ก็จะได้รับการอนุมัติโดยไม่ยุ่งยากอะไร

 ข้อมูลจากเว็บไซต์ Orolia    https://www.orolia.com/gps-interference-detection-now-standard-on-orolia-time-servers/

SecureSync จาก Orolia เป็นอุปกรณ์ Time & Synchronization Server ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับความไว้วางใจ ใช้งานแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน

ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบ ก็สามารถติดต่อมาได้ เรายินดีที่นำเสนอความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ออกแบบ NTP server ในระบบของท่าน



ติดต่อ

คุณยุทธนา Tel: 089-136 6399

info@netsync.co.th

yutthana@netsync.co.th

Read more

Skylight Indoor GNSS antenna


จากพื้นฐานของการรับสัญญาณดาวเทียม ที่เราทราบกันอยู่โดยทั่วไปว่า สายอากาศรับสัญญาณดาวเทียมจะต้องติดตั้งอยู่ในบริเวณเปิดโล่ง หรือบริเวณที่เห็นท้องฟ้าได้โดยไม่มีอะไรขวางกั้น ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่เรียกกันว่า Line of Sight (LOS) ที่มาของความต้องการดังกล่าว มาจากว่าตัวดาวเทียมที่โคจรอยู่ในอวกาศ มีระยะทางความสูงจากพื้นผิวโลกไกลมาก เช่นระยะทางของ ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) มีระยะทางถึง 35,000 กิโลเมตร หรือดาวเทียมวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit) อย่างดาวเทียม GPS ก็มีระยะทางไกลจากพื้นผิวโลกถึง 20,000 กิโลเมตร

สัญญาณที่ส่งออกมาจากดาวเทียม เมื่อผ่านระยะทางที่ไกลและชั้นบรรยากาศ ก็ถูกลดทอนความแรงของสัญญาณลง จนเมื่อสัญญาณแพร่มาถึงพื้นผิวโลก ความแรงของสัญญาณก็ต่ำมาก อยู่ที่ระดับ -130dBm ซึ่งระดับความแรงของสัญญาณนี้ ยังต่ำกว่าค่า noise floor ในอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ ชนิด
ดังนั้นการับสัญญาณดาวเทียม จึงต้องติดตั้งสายอากาศ ในลักษณะที่เห็นฟ้า Line of Sight เท่านั้น เพราะวัสดุที่มีมวลหนาแน่น เช่น ผนังปูน โลหะ จะปิดกั้นสัญญาณที่อ่อนมาก ๆ ไม่ให้ผ่านมาถึงสายอากาศได้

Orolia เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลกผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบ GNSS โดย Orolia ได้คิดค้นระบบสายอากาศรับสัญญาณ GNSS แบบภายใน Indoor GNSS antenna ที่มีชื่อว่า Skylight ขึ้น


https://www.orolia.com/products/timing-sync/skylight-indoor-gps-timing-system


Skylight ถูกออกแบบมาในแนวคิด โดยอาศรัยหลักการของ Multipath signal ซึ่งไม่มีใครเคยคิดว่า Multipath signal ซึ่งเป็นสัญญาณรบกวนในระบบโทรศัพท์มือถือ จะถูกนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้
ในระบบ mobile communication สัญญาณ Multipath signal เป็นสัญญาณรบกวนในลักษณะของ fading channel ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน แต่เมื่อสะท้อนมายังเครื่องรับจากหลายๆทิศทาง จะรบกวนกันเองทำให้การทำงานของภาครับสัญญาณโทรศัพท์ด้อยประสิทธิภาพลง
แต่เจ้าตัวร้าย Multipath signal ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ด้วยความสามารถของนักวิจัย Orolia โดยใช้กระบวนการ นำสัญญาณ Multipath signal ที่สะท้อนมาจากหลาย ๆ แหล่ง มารวบรวมเพื่อสร้างสัญญาณ GNSS ที่มีความเหมาะสมกลับมาใช้งานได้  ชมการทำงานของระบบได้จากลิ้งค์ต่อไปนี้


Skylight ถูกคิดค้นออกมาตั้งแต่ปี 2013 แล้ว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ประสิทธิภาพของระบบ Skylight โดยรวมก็ยังไม่สามารถที่จะเรียกได้ว่าใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ แต่ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์ GNSS Receiver รุ่นใหม่ที่ผลิตออกมา มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเดิมอย่างก้าวกระโดด เช่นจากเดิม GPS Receiver จะรับสัญญาณและประมวลผลได้แค่ 12 channel  ปัจจุบันก็เพิ่มขึ้นมา มากถึง 72 channel และจากเดิมรับได้แค่ระบบ GPS ปัจจุบันก็รองรับระบบ GNSS หรือ Multi Constellation ซึ่งรวมถึง GPS GLONASS Galileo Beidou


Skylight ในวันวานจึงพลิกโฉมมาเป็นระบบ ที่สามารถใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ เมื่อเดือนธันวาคม 2019 ที่ผ่านมา ทางผู้เขียนบทความ ก็ได้มีโอกาศนำ Skylight มาทำการทดสอบการใช้งานจริงให้กับลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งเป็นบริษัทนานาชาติ มีสำนักงานสาขาอยู่ในหลายประเทศ  โดยลูกค้ามีสำนักงานปฏิบัติการอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ และลูกค้ามีความต้องการที่จะติดตั้ง NTP Server แต่มีปัญหาตรงที่ว่า ไม่สะดวกที่จะทำการติดตั้งสายอากาศ GNSS ที่ภายนอกของอาคารตามปกติ  ดังนั้น Skylight จึงถูกนำมาทดสอบการใช้งานเป็นครั้งแรกในประเทศไทย






ซึ่งผลการทดสอบ ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ NTP Server SecureSync สามารถรับสัญญาณดาวเทียมและล๊อคสัญญาณจากภายในอาคาร ใช้งานได้จริง สัญญาณดาวเทียมที่ได้รับมีคุณภาพและใช้งานได้ดี ใกล้เคียงกับการติดตั้งสายอากาศ GNSS แบบภายนอกตามปกติ

ซึ่งหลังจากการทดสอบ ก็เป็นข่าวดีสำหรับหน่วยงานที่มีความต้องการที่จะติดตั้งและใช้งาน NTP Server แต่ติดขัดปัญหาเรื่องการเดินสายอากาศออกไปยังนอกอาคารหรือดาดฟ้า
และทางบริษัทฯ จะมีการติดตั้งระบบจริงของ NTP server ที่ใช้งานร่วมกับ Skylight ในสำนักงานของลูกค้า ที่ตั้งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ เร็ว ๆ นี้


SecureSync จาก Orolia เป็นอุปกรณ์ Time & Synchronization Server ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับความไว้วางใจ ใช้งานแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบ ก็สามารถติดต่อมาได้ เรายินดีที่นำเสนอความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ออกแบบ NTP server ในระบบของท่าน


ติดต่อ
คุณยุทธนา  Tel: 089-136 6399
info@netsync.co.th    
yutthana@netsync.co.th

Read more

NTP server สำหรับ Cyber Security




            ในโลกปัจจุบัน ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 5G  การสื่อสารข้อมูล เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ การส่งไฟล์ และข้อมูลต่างๆ ทุกชนิด เช่น ข้อมูลการเงิน การทำธุรกรรม ข้อมูลทะเบียนประวัติ ล้วนมีความเกี่ยวข้องใช้งานผ่านระบบเน็ตเวิร์ค รวมถึงการเก็บรักษาฐานข้อมูล การรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า Cyber Security จึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นในงานของระบบเน็ตเวิร์ค

Cyber Security เป็นปัจจัยหลักที่จะต้องคำนึงในการออกแบบ การเลือกใช้งานอุปกรณ์เน็ตเวิร์คที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับหน่วยงานหรือองค์กร โดยที่ NTP server ก็เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ไม่สามารถละเลยเรื่องความปลอดภัยได้ เพราะการทำงานของระบบเน็ตเวิร์คในแต่ละระบบ จะต้องอ้างอิงถึงเวลา เช่น transaction ของธุรกรรม การบันทึกข้อมูล database การเก็บ log เป็นต้น




SecureSync เป็นอุปกรณ์ NTP server เพียงยี่ห้อเดียว ในจำนวน NTP หลายยี่ห้อในท้องตลาด ที่ผ่านทดสอบและได้รับการรับรองด้านความปลอดภัย Cyber Security โดย Defense Information Systems Agency 
(DISA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา (US DoD) ให้ใช้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ ในระบบเน็ตเวิร์คของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

DISA ได้เลือก SecureSync ให้เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่อยู่ใน Approved Products List (APL) ของ 
US Department of Defense Information Network (DoDIN) โดยรายชื่ออุปกรณ์ที่อยู่ใน DoDIN APL ดังกล่าวจะต้องผ่านมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มข้นในด้านการรักษาความปลอดภัย Cyber Security จาก DISA

DISA เป็นหน่วยงานเดียวในสหรัฐอเมริกา ที่มีอำนาจในออกหนังสือรับรอง ว่าอุปกรณ์ตัวไหนบ้างที่ผ่านเกณฑ์และสามารถนำมาใช้งานในหน่วยงานทางทหาร และงานด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาได้ โดยหัวข้อต่างๆ ในการตรวจสอบด้านความปลอดภัย Cyber Security ได้มีการรวบรวมมาจากประเด็นที่ได้รับความสนใจ และข้อมูลวิชาการที่เผยแพร่จากหลายแหล่ง แล้วนำมารวมเป็นข้อกำหนดและแนวทางในการทดสอบ ที่เรียกว่า 
"Unified Capabilities Requirements" และยังได้รวมถึงข้อควรปฏิบัติพื้นฐานในการรักษาความปลอดภัย Cyber Security  ดังนั้นอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองใน DoDIN APL จึงมีมาตรฐานในระดับสูงสุด มีความน่าเชื่อถือและมั่นใจได้ว่ามีคุณสมบัติที่ปลอดภัย ในการใช้งานในเน็ตเวิร์ค

นอกจากหน่วยงานความมั่นคงแล้ว คุณสมบัติทางด้านความปลอดภัย Cyber Security ดังกล่าวก็มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน ระบบสื่อสารโทรคมนาคม หน่วยงานระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่ระบบจะต้องให้บริการต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งการขัดข้องล้มเหลวแม้จะช่วงเวลาสั้นๆ ก็จะมีผลกระทบต่อประชาชน



โดยคุณสมบัติของอุปกรณ์ NTP server ที่มีความพร้อมสำหรับ Cyber Security ควรจะรองรับฟังชันส์การทำงานดังต่อไปนี้
  • AAA protocol support (Authentication Authorization and Accounts) ครอบคลุมโปรโตคอล เช่น LDAP  RADIUS  TACACS+  (สามารถกำหนดบัญชีที่จะต้องตรวจสอบ ก่อนเข้าระบบบริหารจัดการ)
  • Multi-level authorization  (สามารถกำหนดการเข้าถึงระบบจัดการ ได้หลายระดับที่แตกต่างกัน)
  • Configurable complex passwords  (สามารถกำหนดรหัสผ่านด้วยตัวอักษรที่ซับซ้อนและหลากหลาย)
  • Access control lists (ACLs)  (สามารถกำหนดคุณสมบัติของผู้มารับบริการ หรือเลือกได้ว่าใครจะเข้ามารับบริการได้บ้าง)
  • HTTPS and NTP  (มีการเข้ารหัสในการเข้าถึงการจัดการผ่านเว็บ รวมถึงการเข้ารหัส NTP)
  • SSH SCP SFTP  (มีการเข้ารหัสในการเข้าบริหารจัดการ  การเข้ารหัสการคัดลอกข้อมูลและการรับส่งไฟล์)
  • Authenticated NTP (NTP เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ตรวจสอบเรื่องเวลาของอุปกรณ์ลูกข่ายในระบบ)


ดูจดหมายรับรองคุณสมบัติ SecureSync ที่ออกโดย DISA


สามารถดูข้อมูลต้นฉบับภาษาอังกฤษ จากเว็บไซต์ของ Orolia ได้ตามลิงค์ ดังต่อไปนี้

SecureSync จาก Orolia เป็นอุปกรณ์ที่รองรับ การทำงาน Time & Synchronization ได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบ ก็สามารถติดต่อมาได้ เรายินดีที่นำเสนอความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ออกแบบ NTP server ในระบบของท่าน

ติดต่อ
คุณยุทธนา  Tel: 089-136 6399
info@netsync.co.th    
yutthana@netsync.co.th

Read more

SecureSync ได้รับคัดเลือกจาก FAA Air Traffic Control



SecureSync จาก Orolia ได้รับการคัดเลือกจาก FAA (Federal Aviation Administration) ให้เป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณ Time & Synchronization สำหรับระบบเรดาร์ ตรวจสอบเส้นทางการบินทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 200 เครื่อง

อันดับแรกขอเกริ่นนำให้รู้จักกับ FAA ก่อน โดย FAA คือหน่วยงานหลัก เกี่ยวกับการบิน ( www.faa.gov ) ภายใต้กระทรวงคมนาคมสหรัฐอเมริกา (US Department of Transportation) มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการบินทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งขอบเขตรวมถึง 
  • อากาศยาน (Aircraft Certification, Aircraft Safety, Repairs stations)
  • สนามบิน (Airport Compliance, Safety, Design & Construction)
  • การควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control, Flight Information)
  • ใบอนุญาต (Air carrier Certification, Aircraft Certification)
  • ข้อมูลและการพัฒนา (Aviation data, Aviation forecasts)
  • กฎระเบียบการบิน (Regulations, Directives, Advisory)
ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยงานในบ้านเรา FAA ก็เป็นหน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบิน ทั้งการท่าอากาศยาน กรมท่าอากาศยาน  วิทยุการบิน  การบินพลเรือน  การบินพาณิชย์

โดย SecureSync ได้รับการคัดเลือก สำหรับนำไปใช้งานจ่ายสัญญาณอ้างอิงให้กับระบบเรดาร์ ตรวจสอบเส้นทางการบิน (Enroute Radar System) ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 200 เครื่อง ทั่วประเทศ ซึ่งระบบเรดาร์ของ FAA ครอบคลุมถึงทุกระบบได้แก่ short-range  medium-range  long-range radars

ซึ่ง SecureSync ในโครงการของ FAA Air Traffic Control จะจ่าย timing outputs รวมถึง สัญญาณอ้างอิงที่สำคัญ และจ่ายเวลา timestamp ให้กับระบบเรดาร์ ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ จะถูกนำไปใช้กับ ข้อมูลการบินในเวลาปัจจุบัน  (real-time flight data points) เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการบิน

โดยสามารถเข้าไปดูข้อมูลต้นฉบับ Press Release จากเว็บไซต์ของ Orolia ได้ตามลิงค์ ดังต่อไปนี้



ข้อมูลเพิ่มเติม SecureSync เป็นอุปกรณ์ Time & Synchronization เพียงรายเดียว ที่ได้ผ่านมาตรฐานและได้รับการยอมรับจาก Defense Information Systems Agency (DISA, www.disa.mil) ให้สามารถใช้งานใน US Government networks 
Spectracom_SecureSync_DISA_APL_Approval_Memo

นอกจากด้าน cybersecurity แล้ว SecureSync เป็นอุปกรณ์ Time & Synchronization server เพียงยี่ห้อเดียวที่มีฟังชันส์ในการ ตรวจสอบ สัญญาณรบกวน Jamming และ Spoofing

SecureSync จาก Orolia เป็นอุปกรณ์ที่รองรับ การทำงาน Time & Synchronization ได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบ ก็สามารถติดต่อมาได้ เรายินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ออกแบบในการติดตั้ง

ติดต่อ
คุณยุทธนา  Tel: 089-136 6399
info@netsync.co.th    
yutthana@netsync.co.th

Read more