Powered by Blogger.

GNSS Simulators

GNSS Simulators

             GNSS Simulators เป็นเครื่องมือที่ใช้ส่งสัญญาณ GNSS เพื่อทดสอบการรับสัญญาณของเครื่อง GPS Receiver โดยสามารถจำลองเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม เพื่อดูว่าตำแหน่งต่างๆที่ถูกจำลองนั้นสามารถรับสัญญาณจาก GPS ได้หรือไม่ 

ตัวอย่างเช่น หากต้องการทดสอบเครื่องรับ GPS Receiver ขณะที่เครื่องบินอยู่บนท้องฟ้า การทดสอบอากาศยานไร้คนขับ Drone  หรือเรือที่อยู่กลางมหาสมุทร  ว่าจะสามารถรับสัญญาณ GPS แล้วได้ผลเป็นอย่างไร  ตัว Simulators สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้  โดยผู้ทดสอบไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ ซึ่งทำให้เสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่สูง  

GNSS Simulators สามารถส่งสัญญาณ GPS ที่มีข้อมูลแน่นอนได้ เทียบเท่าดาวเทียม GPS จริง และยังมีความสามารถในการกำหนดและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม (Parameter) ที่หลากหลายได้

ประโยชน์ของ GNSS Simulators
1.  สามารถจำลองเหตุการณ์ซ้ำๆได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ เพื่อการทดลองที่มีประสิทธิภาพ
2.  สามารถกำหนดสภาพแวดล้อม (Parameter) สำหรับการทดสอบ GPS Receiver ได้หลากหลาย
3.  มีความยืดหยุ่นสูงสำหรับการวิจัยและการพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ GPS
4.  เหมาะสำหรับโรงงานผลิตอุปกรณ์ GPS Receiver หรือผู้ที่ต้องการใช้สัญญาณ GPS ในการทดลอง งานวิจัย ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ  GNSS Simulators สามารถช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการออกไปภาคสนาม เพื่อทดสอบการรับสัญญาณ GPS จริงๆ




          เราสามารถทำการกำหนดเส้นทางที่จะทดสอบและ Parameter ต่างๆโดยใช้โปรแกรม GSG Studio View แล้ว Upload ไปยังตัว Simulator หลังจากนั้นจะให้เครื่อง Simulators ทำการส่งสัญญาณ GPS ออกมาเพื่อทดสอบการรับสัญญาณของเครื่อง GPS Receiver ว่าสามารถรับสัญญาณได้ดีหรือไม่


ตัวอย่างการทดสอบการรับสัญญาณ GPS จาก GPS Receiver ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ





ภาพแสดงข้อมูล การจำลองตำแหน่งดาวเทียม (Almanac)



   ภาพแสดงการปรับตั่งค่า ระดับความแรงของสัญญาณดาวเทียมแต่ละดวง



ลิงค์ Video GNSS simulator ตัวอย่าง








ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อุปกรณ์ GNSS Simulator สามารถติดต่อได้ที่  



         บริษัท NetSync (Thailand) Ltd. 


         คุณยุทธนา มณีพร  

         Tel: 089-1366399 
         e-mail: yutthana@netsync.co.th
         LineID: yutthana.m



          ทางบริษัท ยินดีให้คำปรึกษาเรื่อง GPS Simulator, ระบบ GPS, ระบบ Master Clock, ระบบ Main    Master Clock และให้คำปรึกษาในการเขียนร่าง TOR 



Read more

STL ระบบสัญญาณดาวเทียมแบบ Indoor GPS

ระบบ GPS ที่ได้ริเริ่มโครงการโดย United States Department of Defense ในปี 1973 เมื่อ 44 ปีก่อน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ระบบ GPS ได้มีการพัฒนาต่อยอดและขยายเพิ่มเติม จากประเทศมหาอำนาจทางเทคโนโลยีทั้งจาก รัสเซีย สหภาพยุโรป และจีน จนมาถึงในยุคปัจจุบัน ระบบดาวเทียมดังกล่าวได้มีชื่อเรียกระบบโดยรวมว่า GNSS (Global Navigation Satellite System)

นอกจากนั้น ในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีระบบ GNSS ก็ยังได้มีการเพิ่มศักยภาพของการทำงานให้เหนือชั้นขึ้นไปอีก ด้วยการนำระบบดาวเทียม STL (Satelles) มาใช้เสริมควบคู่กัน



STL เป็นระบบดาวเทียมที่ใช้งานสำหรับ Time และ Location ที่มีการใช้งานในลักษณะคล้ายกันกับระบบ GNSS
STL ในอดีตคือระบบดาวเทียม Iridium ซึ่งเป็นโครงการระบบโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียม (Satellite Mobile) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนระบบดาวเทียมของเดิม มาใช้สำหรับกิจการ Time และ Location แทน






STL เป็นระบบดาวเทียมแบบ Low Earth Orbit  ซึ่งต่างจาก GNSS ที่เป็นระบบดาวเทียม Medium Earth Orbit โดย STL มีจำนวนดาวเทียมในระบบทั้งหมด 66 ดวง ด้วยความที่ STL เป็นระบบดาวเทียมแบบ LEO ความสูงของวงโคจรดาวเทียม มีความสูงจากพื้นผิวโลกเพียงแค่ 800 กิโลเมตร (500 miles) เมื่อเทียบกับ ดาวเทียม MEO ซึงมีวงโคจรที่ความสูง 20,000 กิโลเมตร (12,500 miles) ดังนั้นสัญญาณของ STL จึงมีความแรงกว่าสัญญาณของ GNSS ถึง 1,000 เท่า

STL จึงได้มีการนำมาใช้งานสำหรับ Time และ Location โดยคุณสมบัติที่เหนือกว่าของ STL คือการรับสัญญาสามารถรับได้ในบริเวณภายในอาคาร คือเป็นแบบ Indoor Receiver ไม่จำเป็นต้องตั้งสายอากาศรับสัญญาณที่ดาดฟ้าเหมือนกับ GPS ทั่วไป  (สัญญาณ GPS ปกติ การติดตั้งสายอากาศ จะต้องรับสัญญาณในบริเวณเปิดเห็นฟ้าที่เรียกว่า Line of Sight เท่านั้น)


คุณสมบัติเด่นที่พอจะยกขึ้นมาเทียบกับ GPS คือ
  • 1000x stronger signal than GPS, work indoor
  • Delivers timing with no GPS signal
  • Encrypt signal resists spoofing
  • Global coverage 66 satellites


STL มีการเข้ารหัสสัญญาณ (Encryption) เพื่อป้องกันสัญญาณ GPS spoofing (spoofing คือสัญญาณ GPS ปลอมที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกให้เครื่องรับ GPS รับสัญญาณปลอม เพื่อให้ระบบทำงานผิดพลาด)

เนื่องจาก ดาวเทียม STL มีการส่งสัญญาณในลักษณะแบบ spot beam ซึ่งเป็นสัญญาณทีมีความแรงและมี beam width แคบ ดาวเทียม STL จึงต้องมีการระบุตำแหน่งบนผิวโลก เพื่อให้ดาวเทียม เลือกส่งสัญญาณลงมาในตำแหน่งของอุปกรณ์รับสัญญาณที่อยู่ในระบบเท่านั้น  จึงต้องมีการกำหนดจุดรับสัญญาณที่แน่นอนบนผิวโลกถึงจะได้รับบริการ
การใช้งานระบบ STL จึงเป็นลักษณะแบบ subscription คือมีการเก็บค่าบริการเป็นแบบรายเดือนเพื่อรับสัญญาณ 

Spectracom เป็นบริษัทผู้ผลิต NTP Server เพียงรายเดียวของโลก (Exclusive) ที่ได้มีการลงนามสัญญาณกับระบบดาวเทียม Satelles  และ NTP Server รุ่น SecureSync ก็ได้มีการรองรับการทำงานของ STL เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการใช้งานของ STL จะนำมาใช้เป็นระบบเสริมจาก GNSS


บริษัท NetSync (Thailand) Limited มีความยินดีที่จะให้คำปรึกษาเรื่องระบบ Master Clock, NTP Server, Time & Frequency system

ติดต่อ คุณยุทธนา  
Tel: 089-136 6399   
email: yutthana@netsync.co.th

Read more