Powered by Blogger.

GNSS Application: Digital Broadcast system

เมื่อเทคโนโลยี่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบการส่งแพร่ภาพสัญญาณแบบ อนาล็อก ก็ถึงยุคสิ้นสุดไปตามกาลเวลา บทความนี้จะกล่าวถึงการประยุกต์ใช้งาน GNSS กับระบบ Digital Broadcast

ทำไม ดิจิตอล ทีวี ถึงได้มาแทนที่ระบบอนาล็อกแบบเดิม?   ระบบการประมวลผล แบบดิจิตอล เป็นระบบการประมวลผลที่ดีที่สุดในขณะนี้ เพราะมีการใช้ช่องสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพมาก เช่น สามารถใช้ช่องสัญญาณร่วมกันได้ (Multiplexing) สามารถเข้ารหัสสัญญาณได้ (Data Encryption) สามารถลดขนาดหรือบีบอัดข้อมูลได้ (Data Compression & Coding) สามารถแก้ไขความผิดพลาดที่ปลายทางได้ (Error Correction) และอื่นๆ ซึ่งกระบวนการประมวลผลเหล่านี้ส่งผลให้ระบบ ดิจิตอล ทีวี มีความคมชัดของสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงมีความละเอียดสูงมาก ที่เรียกกันว่า High Definition

ระบบ Digital Broadcast มีโครงสร้างหลักของการแปลงสัญญาณ คือแปลงสัญญาณจากอนาล็อก เป็นดิจิตอล เช่นเดียวกันกับระบบสื่อสารแบบดิจิตอลโดยทั่วไป และในท้ายที่สุดก็จะมีการแพร่คลื่นเพื่อส่งสัญญาณจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ โดยอาศรัยการ Modulation เพื่อแพร่ภาพและกระจายเสียง ผ่านคลื่นพาหะ (Carrier frequency) ตามช่องความถี่ที่ได้กำหนดไว้ของแต่ละสถานี

อุปกรณ์ GNSS Receiver จึงมีความจำเป็นสำหรับการจ่าย สัญญาณอ้างอิงของเวลาที่แม่นยำในกระบวนการ Multiplexing และแหล่งผลิตความถี่ที่แม่นยำสำหรับการ Modulation โดยสัญญาณอ้างอิงที่ใช้กันในระบบ Digital Broadcast ได้แก่

·        - 10 MHz (Sin Wave)
·        - 1 PPS (One Pulse per Second)

10 MHz และ 1 PPS เป็นสัญญาณหลักที่มีการนำไปใช้งานเป็นความถี่อ้างอิง สำหรับการผลิต Carrier frequency โดยสัญญาณเหล่านี้ เป็นสัญญาณ input ที่นำไปใช้กับวงจรสังเคราะห์ความถี่ (frequency synthesizer) หรือวงจรคูณความถี่ (frequency multiplier) ซึ่งจะได้ผลลัพธิ์คือความถี่ในย่านต่างๆ เช่น IF frequency หรือความถี่พาหะ VHF UHF และความถี่ใดๆ ที่จะนำไปใช้ต่อไป ในกระบวนการ Modulation

นอกจากนี้ ระบบ Digital Broadcast ยังมีความต้องการ สัญญาณเวลาอ้างอิงมาตรฐาน สำหรับการบันทึกเวลาปัจจุบัน (Time Stamps)  อุปกรณ์ GNSS Receiver ก็จะมีสัญญาณ NTP จ่ายให้กับระบบบันทึกเวลาหรืออุปกรณ์ประมวลผลต่างๆ ผ่านทางพอร์ต network เช่น 10/100Base-T หรือ Gigabit ได้





ถ้าถามว่าทำไมจึงต้องใช้ สัญญาณ 10MHz และ 1PPS ที่จ่ายออกมาจาก GNSS Receiver? คุณลักษณะของสัญญาณต้องมีดังต่อไปนี้

·         - มีค่าความแม่นยำที่สูง (Frequency Accuracy) และมีความเสถียรสูง (Frequency Stability) สัญญาณที่ได้จาก GNSS Receiver เป็นสัญญาณที่ได้มาจากการ Synchronize กับดาวเทียม GPS จึงเป็นสัญญาณที่มีคุณภาพสูงเพียงพอที่จะนำมาใช้งาน

·         - มีค่าคาบเวลาแม่นยำสูง (Timing Accuracy) เพราะในกระบวนการ จะต้องซิงค์เวลา ให้สัมพันธ์กัน อุปกรณ์ส่งสัญญาณจะต้องไม่ส่งสัญญาณชนกัน ในขณะที่อุปกรณ์ตัวอื่นส่งสัญญาณอยู่

·         - มีค่าความคลาดเคลื่อนทางเฟสต่ำ (Low Phase Noise) ซึ่งเป็นความต้องการต้นๆ สำหรับอุปกรณ์ Modulation

·         - มี่ค่าสัญญาณรบกวนต่ำ (Low Spurious)


ด้วยคุณสมบัติต่างๆที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่า GNSS Receiver เป็นอุปกรณ์สร้างสัญญาณอ้างอิงคุณภาพสูง ที่จะขาดไม่ได้เลยในระบบ ดิจิตอล ทีวี






























ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399,090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more

วิธีการหาค่าพิกัด Latitude, Longitude จาก Google เพื่อช่วยในการติดตั้ง Main Master Clock

- เข้าไปที่ www.Google.co.th จาก browser คลิกที่ App ตามรูปแล้วเลือกไปที่ Maps




















- หลังจากเข้ามาแล้ว สามารถค้นหา สถานที่ที่ต้องการได้โดยพิมพืชื่อสถานที่ในช่องค้นหา
ในที่นี้สมมุติว่าค้นหาพิกัด Telescience Singapore Pte Ltd. ตามรูปด้านล่างนี้















- เมื่อพอสถานที่ที่ต้องการแล้ว ให้คลิกขวาที่ตำแหน่งนั้น " What's here? " ตามรูปด้านล่างนี้




















- เมื่อเลือกแล้วจะปรากฎลูกศรสีเขียวขึ้นมาในช่องค้นหา และจะปรากฎพิกัดในรูปแบบ Decimal Time
หากต้องกาารแสดงพิกัดในรูปแบบ Hour Minutes and Seconds ให้คลิกลูกศรสีเขียวเพื่อแสดง ตามรูปด้านล่างนี้













ซึ่งในการติดตั้ง Main Master Clock ในครั้งแรกนั้น ถ้าใส่พิกัดให้กับ Main Master Clock ที่ตั้งอยู่หรือพิกัดที่ใกล้เคียง จะช่วยทำให้ตัว Main Master Clock เองสามารถ Sync เวลาได้ไวขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาให้ Main Master Clock ค้นหาพิกัดเอง ซึ่งจะกินเวลานาน บางครั้งอาจจะนาน 2-3 ชั่วโมงเลยทีเดียว

ติดต่อคุณ ยุทธนา มณีพร
บริษัท เน็ตซิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399, 090-279-2501
www.netsync.co.th

Read more