Powered by Blogger.

การติดตั้ง Main Master Clock ตอนที่ 3

        เนื่องจากทั้งเสาอากาศ และแกนเสาซึ่งเป็นวัสดุพีวีซี มีน้ำหนักเบา การยึดติดตั้งจึงไม่ต้องการ การยึดที่รับแรงมากนัก โดยการยึดจะใช้รางซีร่วมกับแคลมยึด ก็มีความทนทานและแข็งแรงเพียงพอ


รูปแสดงการยึดเสาอากาศ GPS โดยในรูปใช้ รูปแทนจากเสาอากาศ GPS ชนิด High Gain)


 จากเสาอากาศ GPS ก็จะมีสายนำสัญญาณลากต่อไปยัง Lightning Arrestor และจะมีการต่อสายดินไปยังจุดต่อสายดิน ซึ่งอาจจะเป็นจุดต่อสายดินของโครงอาคารเอง หรือจุดต่อสายดินของห้องอุปกรณ์ โดยทีมติดตั้งจะพิจารณาจุดที่เหมาะสมที่สุดในวันสำรวจ

 สายนำสัญญาณที่ต่อมาจาก เสาอากาศ GPS หรือ Lightning Arrestor ก็จะติดตั้งไปตามแนวทางท่อร้อยสายที่เหมาะสมจากการสำรวจและออกแบบ หรืออาจจะใช้แนวเดิมที่มีการติดตั้งใช้งานอยู่แล้ว สำหรับในจุดที่มีแนวร้อยสายหรือถาดร้อยสายของเดิมที่สามารถนำสายนำสัญญาณของใหม่นี้เข้าไปร่วมใช้ได้ ก็จะใช้ของเดิมเพื่อความเป็น ระเบียบเรียบร้อย หรือถ้ามีการติดตั้งใหม่ก็จะติดตั้งให้ขนานกันไป โดยคำนึงถึงทัศนียภาพที่เป็นระเบียบ และถูกแบบแผนตามมาตรฐานการติดตั้ง

 หลังจากติดตั้ง เสาอากาศ สายนำสัญญาณ และ Server เสร็จสิ้นแล้ว และทางบริษัทฯ จะส่งวิศวกร เพื่อเข้าไปทำการ commissioning และทดสอบการใช้งานสามารถโทรมาปรึกษาได้ที่
บริษัท เทเลไซน์(ไทยแลนด์) จำกัด
Tel: 089-1366399
คุณยุทธนา (ยินดีให้คำแนะนำเรื่อง Main Master Clock)


Read more

การติดตั้ง Main Master Clock ตอนที่ 2

เสาอากาศ GPS เป็นเสาอากาศชนิด Omni direction ซึ่งจะสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้รอบทิศทางในตัวเอง และสัญญาณดาวเทียม GPS เป็นสัญญาณ ในลักษณะ Line of Sight จึงเป็นที่มาของความต้องการการติดตั้งเสาอากาศ GPS ในบริเวณเปิดเห็นฟ้า

เสาอากาศ GPS ที่จะใช้ติดตั้งจริง ดังแสดงในรูป มีขนาดเล็กประมาณ 10 cm และมีน้ำหนักเบา
เมื่อรวมกับแกนเสาอากาศจะมีความยาวประมาณ 60 cm

Read more

การติดตั้ง Main Master Clock ตอนที่1

จะต้องมีการสำรวจสถานที่ ณ บริเวณ Site งานจริงที่จะทำการติดตั้งก่อนเข้าไปทำการติดตั้งอุปกรณ์ NTP Server เพื่อหาจุดที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเสาอากาศ GPS และแนวทางการเดินสายนำสัญญาณที่เหมาะสมจากเสาอากาศ GPS ไปยังตัว NTP Server
แผนภาพแสดงการติดตั้งทั้งหมดจะเป็นดังต่อไปนี้
เสาอากาศ GPS จะถูกติดตั้ง ณ บริเวณเปิดเห็นฟ้าปราศจากสิ่งบดบัง เพื่อให้สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS ได้ชัดเจนที่สุด (โดยมากมักเป็นบริเวณดาดฟ้า เนื่องจากเป็นที่สูงจะปลอดภัยจากการรบกวนของ มนุษย์ สัตว์ และสิ่งของอื่นๆ) โดยจุดติดตั้งดังกล่าวจะต้องไม่อยู่ใต้ชายคาหรือต้นไม้ เป็นบริเวณโล่ง อาจมีสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารใกล้เคียงได้ โดยความสูงของสิ่งบดบังเมื่อวัดในแนวราบ ไม่ควรเกิน 10 ถึง 20 องศา ของตัวเสาอากาศ และสิ่งบดบังที่อาจมีในบริเวณนั้นไม่ควรเกินกว่า 50% ของบริเวณเปิดที่เห็นท้องฟ้า

Read more

IPv6 คืออะไร

กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร

                  หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต อย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล
แพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณที่มา : http://www.ipv6.nectec.or.th/faq.php#ans1

Read more

ตัวย่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ NTP server

NTP= Network Time Protocol
SNTP= Simple Network Time Protocol
PTP=Precision Time Protocol
UTC=Universal Time Coordinated
TCXO=Temperature Compensated Crystal Oscillators
OCXO=Oven Controlled Crystal Oscillators
GPS=Global Positioning System
SAASM=Selective Availability Anti-Spoofing Module
LDAP=Lightweight Directory Access Protocol
FTP=File Transfer Protocol
SNMP=Simple Network Management Protocol
IPv4= Internet Protocol version 4
IPv6= Internet Protocol Version 6
RFC= Request for comments
IETF= The Internet Engineering Task Force
TCP=Transmission Control Protocol
DHCP= Dynamic Host Configuration Protocol
DAD= Duplicate address Detection
NAT=NEtwork Address Translation
อาจจะมีมาเพิ่มเติมให้อีกที่หลังครับ

Main Master Clock
GPS Time Server
Time Server
NTP Server

Read more

ระดับ stratum เกี่ยวกับเวลาอย่างไร

กฎหมาย พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ภายหลังประกาศใช้ พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับอมพิวเตอร์ หลังจากนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก็มีประกาศกระทรวงฯ เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เพื่อให้บังคับเป็นแนวทางปฏิบัติ
ในประกาศมีระบุว่าจะต้องมีการเก็บข้อมูลการจราจรให้ถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผู้ให้บริการจะต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์ที่ให้บริการ(ทุกชนิด)ให้ตรงกับเวลาอ้างอิงมาตรฐานสากล (Stratum 0) โดยเวลาที่ได้จะต้องผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที คือ ต้องการให้อุปกรณ์ทั้งหมดภายใน Network เช่น Server, Router, computer, notebook  มีเวลานาฬิกาที่ตรงกัน ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบข้อมูลจราจรของแต่ละที่ สามารถอ้างอิงตามเวลาที่ใกล้เคียงกันที่สุด เช่น 

ตัวอย่าง สมมุติว่ามีคนเข้ามา Hack ข้อมูลแผนก Sales ของบริษัท A สาขาเชียงใหม่ เวลา 10:00 ของวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ในขณะเดียวกันเวลาที่บริษัท A สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ยังคงเป็นเวลา 9:30 .อยู่  จะเห็นว่าเวลาไม่ตรงกันทำให้ยากต่อการตรวจสอบว่าใคร Hack เข้ามาเพราะเวลาที่ใช้อ้างอิงไม่ตรงกัน

Stratum 0 คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ Synchronize อ้างอิงเวลามาตรฐานสากล โดยไม่มีค่าหน่วงเวลาใดๆ โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ดาวเทียม GSP, Atomic Clock

Stratum 1 คือ อุปกรณ์ที่รับสัญญาณเวลามาจากดาวเทียม GPS ในที่นี้หมายถึง NTP Server หรือ Time Server

Stratum  2 คือ อุปกรณ์ที่รับเวลาจาก Time Server โดยตรงจะเรียก Stratum 2 และอุปกรณ์ที่มาต่อจาก stratum 2 ก็จะเรียกว่า Stratum 3 ….เรียกอย่างนี้เรื่อยๆไป

ซึ่งการที่เรามีอุปกรณ์อ้างอิงเวลามาตรฐานสากลจะทำให้เวลาอุปกรณ์ทั้งหมดใน  Network ตรงกัน

Read more